วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทักษะมวยไทยเบื้องต้น

ตอนที่ 6
ขั้นตอนการสอนเพื่อเรียนรู้การสอนทักษะมวยไทยเบื้องต้น

ขั้นตอนการสอนเพื่อเรียนรู้การสอนทักษะมวยไทยเบื้องต้น
การสอนทักษะมวยไทยเบื้องต้นมีขั้นตอนการสอนเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้
         1. การพันมือ มีความสำคัญมากต่อการฝึกซ้อมมวยไทยและการแข่งขันชกมวยไทย
            ประชา ฤาชุตกุล (2525 : 160) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพันมือ เพื่อที่จะรัดให้กระดูกนิ้วมือรวมกันเข้าเป็นมัดเดียวกัน ป้องกันการกระเทือนระหว่างกระดูก มีกล้ามเนื้อเอ็นและไขมัน
            พอสรุปได้ว่าการพันมือ เพื่อป้องกันกระดูกนิ้วมือ ข้อมือ และกล้ามเนื้อ เอ็น                   เกิดอันตราย เช่น ซ้น แตก หรือหักได้

ขั้นตอนการพันมือ   
            1. ใช้ผ้าพันมือพันรอบสันมือสามหรือสี่รอบแล้วพันที่ข้อมือสองหรือสามรอบ
            2.  พันรอบหัวแม่มือหนึ่งรอบหรือสองรอบดึงให้ผ้ากระชับหัวแม่มือเพื่อล็อค                  หัวแม่มือ ป้องกันหัวแม่มือส้นแล้วดึงผ้ามาพันที่ข้อมือหนึ่งรอบหรือสองรอบ
            3. พันระหว่างนิ้วก้อยกับนิ้วนางดึงผ้าขึ้นมาพันข้อมือหนึ่งรอบหรือสองรอบ
            4. พันระหว่างนิ้วนางกับนิ้วกลางดึงผ้าขึ้นมาพันข้อมือหนึ่งรอบหรือสองรอบ
            5. พันระหว่างนิ้วกลางกับนิ้วชี้ดึงผ้าขึ้นมาพันข้อมือหนึ่งรอบหรือสองรอบ
            6. พันที่สันมือดึงผ้าให้แน่นกับสันมือพอประมาณ
            7. นำปลายผ้าผูกรอบผ้าใต้ฝ่ามือมัดผ้าให้แน่น

วิธีการกำหมัด
            วิธีการกำมือให้กำนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วก้อยเข้าหาฝ่ามือ กำฝ่ามือให้แน่น ให้นิ้วทั้งสี่เรียงชิดกัน และทับหัวแม่มือลงบนระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง กำหมัดให้แน่น ข้อมือต้องเกร็งเป็นแนมายวเดียวกันตลอด ไม่งอหรือปล่อยตามสบาย เพราะจะเกิดอันตรายเมื่อชกหรือกระแทกเป้า                ให้สันหมัดเท่านั้นถูกเป้าหมาย
            สันหมัด หมายถึง ข้อดันหรือข้อแรกของนิ้วมือทั้งสี่ ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย)
            3. ท่าคุมและตำแหน่งของมือ
            วิธีการฝึกท่าคุมและตำแหน่งของมือ
            ยืนด้วยปลายเท้า เท้าทั้งสองชิดกัน แยกเท้าหน้า และแยกเท้าหลังออกตั้งฉากกับส้นเท้าให้ปลายเท้าเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อยห่างกันระดับช่วงไหล่ ส้นเท้าทั้งสองเปิดเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้งสอง เข่างอเล็กน้อย เพื่อให้การเคลื่อนไหวได้คล่องตัว หมัดหลังกำหลวมปิดคาง           งอแขน  ให้ศอกติดลำตัว ก้มหน้าเล็กน้อย มือหน้าอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย สันหมัดหน้าห่างจากไหล่พอสมควร ให้หัวแม่มือหันเข้าหาไหล่ งอแขนให้ศอกห่างลำตัวพอประมาณ 
4. การเคลื่อนที่
                 จรัสเดช  อุลิต (2527: 15) ได้กล่าวไว้ว่า การเคลื่อนเท้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการชกมวยไทย จะหาระยะชกให้ถูกคู่ต่อสู้จะเข้าจะออกได้รวดเร็ว หรือจะหลบหลีกคู่ต่อสู้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนเท้า
                 4.1 การเคลื่อนที่ตรงไปด้านหน้า
                       คือ การเคลื่อนเท้าหน้าไปข้างหน้า สืบเท้าหลังตาม รักษาระยะห่างกันประมาณช่วงไหล่ งอเข่าเล็กน้อยอยู่ในท่าคุม
                  4.2 การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง
                        คือ การเคลื่อนเท้าหลัง ถอยหลังไปก่อน แล้วตามด้วยเท้าหน้าอยู่ในท่าคุม
                  4.3 การเคลื่อนไปทางด้านขวา
                       คือ การเคลื่อนเท้าไปทางขวามือ โดยสืบเท้าขวาไปทางขวาก่อนแล้วสืบเท้าซ้ายตาม เท้าทั้งสองห่างกันระดับช่วงไหล่อยู่ในท่าคุม
     4.4 การเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย
                       คือ การเคลื่อนเท้าไปทางซ้ายมือ โดยสืบเท้าซ้ายไปทางซ้ายก่อนแล้วสืบเท้าขวาตาม เท้าทั้งสองห่างกันระดับช่วงไหล่ อยู่ในท่าคุม
                  4.5 การเคลื่อนที่หมุนไปทางด้านขวามือ
                       โดยการให้เท้าขวานำ แล้วสืบเท้าซ้ายตาม เท้าทั้งสองห่างกันระดับช่วงไหล่
                  4.6 การเคลื่อนที่หมุนไปทางด้านซ้ายมือ
                       โดยการใช้เท้าซ้ายนำ สืบเท้าขวาตาม เท้าทั้งสองห่างกันระดับช่วงไหล่

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น