วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย

ตอนที่ 1
การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย

การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย
            การชกมวยไทยในสมัยโบราณก่อนการชกมวยจะต้องมีการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยก่อน ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การไหว้ครูเป็นถวายบังคมพระมหากษัตริย์ เพราะในสมัยโบราณการชกมวยจะมีขึ้นหน้าพระที่นั่งเป็นประจำ ทั้งการไหว้ครูเป็นการระลึกถึงคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้มวยไทยให้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและทำให้มีจิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ควบคุมสติได้ดี ส่วนการร่ายรำเป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของครูมวยแต่ละสำนัก นอกจากนั้นการร่ายรำยังเป็นการอบอุ่นร่างกายให้คลายความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมที่จะต่อสู้ได้ทันที ทั้งเป็นการดูเชิงคู่ต่อสู้พร้อมสำรวจพื้นบริเวณที่จะทำการชกมวย เพราะในสมัยโบราณการชกมวยจะชกกันบนลานดินในบริเวณวัด

เครื่องดนตรีประกอบมวยไทย
            เครื่องดนตรีปี่กลอง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยและการ    ชกมวยไทย วงดนตรีปี่กลองที่มีจังหวะท่วงทำนองช้าและเร็วตามช่วงของการแข่งขัน เมื่อไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ท่วงทำนองก็จะช้าช่วยให้ลีลาในการร่ายรำดูอ่อนช้อย งดงาม เป็นจังหวะน่าชม และเมื่อเริ่มการแข่งขัน เสียงดนตรีก็เริ่มมีจังหวะเร็วขึ้นบอกให้ผู้ได้ยินรู้ว่าขณะนี้นักมวยกำลังใช้ชั้นเชิงต่อสู้กัน เมื่อถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรีก็ยิ่งเร่งเร้ามากขึ้น เร้าใจให้นักมวยที่กำลังต่อสู้กันเร่งพิชิตคู่ต่อสู้ และเร้าใจให้ผู้ชมรอบสนามตื่นเต้นกับการต่อสู้ของนักมวยทั้งสองพร้อมผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึงเป็นส่วนสร้างความรู้สึกของนักมวยและผู้ชมให้สนุกสนานตื่นเต้นกับการแข่งขันได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
                
ขั้นตอนการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย
1.            เมื่อนักมวยมาถึงเวทีมวยให้นั่งคุกเข่าพนมมือทำจิตใจให้เป็นสมาธิน้อมรำลึกถึง
คุณพระแม่ธรณีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เป็นเจ้าที่ปกปักรักษาสถานที่แห่งนั้น ให้มาปกป้องคุ้มครองให้การชกมวยในครั้งนี้จงเป็นผู้ประสบชัยชนะและปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
แล้วก้มลงกราบพระแม่ธรณี 3 ครั้ง แล้วใช้มือหยิบดินที่พื้นมาวางลงบนศีรษะแล้วลุกขึ้นก้าวขึ้นเวที
2.  ก่อนข้ามเชือกเข้าไปในสังเวียนให้พนมมือไหว้แล้วเสกคาถาหรือขอขมาแม่ย่านางเวที
แล้วลูบเชือกเป็นเชือกไปมา การเบิกทางปราบมารทั้งหลาย โดยลูบเชือกไปมา 3 ครั้งหรือบางครูมวยให้เสกคาถาอย่างอื่น เป็นต้น
3. กระโดดข้ามเชือกเข้าสู่สังเวียน เดินไปกลางเวทีพนมมือไหว้ผู้ชมการแข่งขันทั้งสี่ทิศ
แล้วเดินมาที่มุมของตนเองแล้วกราบที่มุมหนึ่งครั้ง
            การปฎิบัติแต่ละขั้นตอนก่อนขึ้นสู่เวทีและเข้าในสังเวียนครูมวยแต่ละคนอาจจะมีข้อ
ปฎิบัติไม่เหมือนกัน
            ก่อนการแข่งขันชกมวยนักมวยทุกคนต้องทำการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยก่อน เพื่อรำลึกถึงคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เคารพนับถือให้มาคุ้มครองตนเอง พร้อมทั้งขอให้ได้รับชัยชนะด้วยความปลอดภัยแล้วจึงไหว้ครูร่ายรำมวยไทย
            ท่าทางในการไหว้ครูร่ายรำมวยไทยที่แพร่หลายในปัจจุบันมีดังนี้
            1.  การกราบ นั่งคุกเข่ามือพนมแล้วกราบลงพื้น 3 ครั้ง     
            2. กอบพระแม่ธรณี ให้กอบพระแม่ธรณี โดยกางมือทั้งสองออกกวาดพระแม่ธรณี (กอบพื้น) กวาดพื้นให้สุดมือ เมื่อมือชิดกันให้หงายฝ่ามือแล้วดึงมือทั้งสองยกขึ้นสู่อก                  
            3. ถวายบังคม  ถวายบังคม โดยเหยียดมือทั้งสองออกไปด้านหน้าให้ตรึงแล้วยกมือทั้งสองขึ้นสูงระดับหน้าผาก พร้อมเงยหน้าขึ้นมองมือทั้งสอง แล้วลดมือทั้งสองลงสู่หน้าผากให้หลังฝ่ามือแตะที่หน้า แล้วยกมือทั้งสองขึ้นให้แขนเหยียดตรึง แล้วลดมือทั้งสองลงกลับสู่ท่าพนมมือที่อก กระทำ 3 ครั้ง    
4. ท่าพรหมสี่หน้านั่ง เมื่อถวายบังคมเสร็จสิ้นให้ลุกขึ้นนั่งยกมือพนมที่หน้าอกแล้ว
ร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลา (ควงหมัด 3 รอบ) หรือท่าร่ายรำอื่น ๆ แล้วพลิกตัวหันหลังกลับไปทิศเบื้องหลังแล้วร่ายรำท่า สอดสร้อยมาลาหรือท่าร่ายรำอื่น ๆ แล้วพลิกตัวไปทิศเบื้องซ้าย (อยู่ด้านขวา) แล้วร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลาหรือท่าร่ายรำอื่น ๆ แล้วพลิกตัวกลับหลังไปทิศเบื้องขวาแล้วร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลาหรือท่าร่ายรำอื่น ๆ
5. ท่าย่างสามขุม เมื่อร่ายรำท่าพรหมสี่หน้านั่งเสร็จสิ้นให้ลุกขึ้นยืนตรงพนมมือท่าเทพนิมิตคือยกเข่าซ้ายขึ้นให้สูงตั้งฉากกับพื้นมือซ้ายวางลงบนหน้าขาซ้าย มือขวายกขึ้นงอแขน กำหมัดยกขึ้นอยู่ระดับแก้มปิดปลายคางแล้ววางเท้าซ้ายลง ให้ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวามือซ้ายงอยกขึ้นระดับแก้มปิดปลายคาง มือขวาวางลงบนหน้าขาซ้าย แล้วสลับมายกเท้าซ้ายก้าวย่างเฉียงไปทางซ้าย ยกมือสลับซ้ายเป็นขวาเช่นกันให้ระยะก้าวเท่า ๆ กันจนถึงที่หมายเมื่อถึงที่หมายให้พนมมือท่าเทพนิมิ                                                                                               
 6. ท่าพรหมสี่หน้ายืน การร่ายรำท่าพรหมสี่หน้ายืนนักมวยส่วนมากจะย่างสามขุมไป
กึ่งกลางเชือกระหว่างมุม เมื่อย่างสามขุมใกล้กึ่งกลางเชือกให้นักมวยร่ายรำท่าต่าง ๆ เช่น                 สอดสร้อยมาลา พระรามแผลงศร หงษ์เหิร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น