วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อัตลักษณ์มวยไทยท่าเสา

บทที่ 1

บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                        มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทย มาแต่โบราณ นับตั้งแต่สมัยยุคก่อนพุทธศาสนา ยุคฤาษี ยุควิทยาธร ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี ยุครัตนโกสินทร์ จนถึงยุคปัจจุบัน            ในสมัยยุคต่าง ๆ นั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามวยไทย เกิดขึ้นในสมัยใด เพียงสันนิฐานได้ว่า        มวยไทย มีมาแต่โบราณควบคู่กับคนไทยมาโดยตลอด เพราะคนไทยในสมัยโบราณต้องต่อสู้กับศรัสตรูที่มารุกรานการต่อสู้ในสมัยโบราณไม่มีอาวุธมากนักใช้ไม้ พลอง หิน แต่อาวุธที่ติดตัวคนไทยและใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวมาโดยตลอดก็คือ  มวยไทย   
                        มวยไทย เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่คนไทยคิดค้นขึ้นอย่างชาญฉลาดโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผสมกับพลังกายและพลังแห่งจิตวิญญาณออกมาเป็นลีลาท่าทางของการต่อสู้ได้อย่างงดงาม  มวยไทยจึงเป็นมรดกของการสั่งสมวัฒนธรรมประเพณีหลาย ๆ ด้านอย่างผสมกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ คาถาอาคม ดนตรี วรรณกรรม คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นตั้งแต่แรกที่มอบตัวเป็นศิษย์จนกระทั่งการถ่ายทอดการเรียนรู้จนจบกระบวนท่าไม้มวยไทย ของครูแต่ละสำนัก ซึ่งแฝงไว้ด้วยคติธรรมแห่งความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ ความกตเวที   มีมานะอดทน เพียรพยายาม มีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมวยไทย ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และชาวโลก
                        มวยไทย จึงเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทย ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ที่คิดค้นและพัฒนาท่าทางต่าง ๆ แล้วนำมาใช้ในการต่อสู้ โดยการใช้อวัยวะส่วน  ต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ ได้แก่ มือสอง ศอกสอง เท้าสอง เข่าสอง ศรีษะหนึ่ง เรียกว่า นวอาวุธ ทั้ง 9 ซึ่งมีความหมายถึง การใช้ทุกส่วนของร่างกายเป็นอาวุธ ด้วยการต่อย ศอก ทุ่ม ทับ จับ หัก กัด โขก       มวยไทย คือรากเหง้าของภูมิปัญญาคนไทยที่เป็นมรดกดั้งเดิมทางวัฒนธรรมของชนชาติไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่กำเหนิดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย
                        นอกจากนี้ มวยไทย ได้แสดงถึงภูมิปัญญาบรรพบุรุษของไทยที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาช้านาน จากการวิวัฒนาการมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งปรากฏเหตุการณ์ในอดีตที่เกี่ยวกับ      มวยไทย กล่าวคือ ชาติไทย เคยมีประวัติการใช้มวยไทยเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาญ เพื่อปกป้องบ้านเมืองมาหลายยุคหลายสมัย และมีการสืบทอดกันมายาวนาน

2

                        ดังนั้น มวยไทย จึงถือได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์แขนงหนึ่งที่รวบรวมศิลปะการต่อสู้หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเองซึ่งจะแตกต่างจากศิลปะการป้องกันตัวของชาติอื่น ๆ มวยไทย บ่งบอกได้ถึงต้นกำเนิด แหล่งที่มา และวัฒนธรรมของความเป็นไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน
                        มวยไทย เป็นศิลปะประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ แต่สมัยกรุงสุโขทัย จะไม่มีหลักฐาน        ที่ปรากฏแน่ชัดเกี่ยวกับมวยไทยอย่างชัดเจนแต่จากการประมวลเหตุการณ์ในการทำศึกสงครามของคนไทยที่ปกป้องบ้านเมือง ได้ใช้ศิลปะมวยไทย เข้าต่อสู้กับศรัสตรูควบคู่กับการใช้ ไม้ ดาบ พลอง ธนู        เข้าต่อสู้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย
                        ในสมัยอาณาจักรน่านเจ้า พ.ศ.1192 1797 รวมระยะเวลา 605 ปี อาณาจักรน่านเจ้ามีกษัตริย์ผู้สามารถปกครองหลายพระองค์ และต้องทำศึกสงครามกับประเทศจีนอยู่เสมอ จึงมีการคัดเลือกชายไทยที่มีบุคลิกภาพดีและมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเข้ารับราชการทหาร โดยมีการฝึกด้านร่างกายให้แข็งแรงฝึกซ้อมรบโดยใช้อาวุธแบบจีน และการฝึกต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยไทย (ถนอมวงศ์  กฤษณ์เพ็ชร, 2538)
                        สมัยลานนา ตั้งเมื่อ พ.ศ. 1400 ประชาชนทั่วไปจะได้เรียนรู้วิชาทั่วไปจากพระภิกษุเป็นผู้สอน เช่น การอ่าน การคิด การเขียน ส่วนวิชาบางอย่างเริ่มสอนโดยฆราวาส เช่น วิชาก่อสร้าง วิชาการต่อสู้ป้องกันตัว และวิชาเจิ๋ง (การต่อสู้แบบจีนคล้ายมวยจีน) ส่วนการศึกษาวิชาทหารมีการเรียนศิลปะศาสตร์การรบ เพลงอาวุธ และตำราพิชัยสงคราม (ฟอง  เกิดแก้ว, 2520)
                        สมัยกรุงสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1781 1921 รวมระยะเวลา 140 ปี ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย ศึกษาจากข้อความในหลักศิลาจารึก ทำให้ทราบว่ารูปแบบการปกครอง การศึกษา การทหาร การประกอบอาชีพ และการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ วัดและวังเป็นศูนย์กลางของประชาชนเป็นสำนักเรียนของบุคคลหลายประเภท ทั้งขุนนางและราษฏรทั่วไป โดยมีพระเป็นผู้สอน ซึ่งเรียนทั้งวิชาการและภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว
                        ผู้ชายในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อย่างเข้าสู้วัยรุ่นมักจะฝึกหัดมวยไทยกันทุกคนเพราะเป็นส่วนหนึ่งของชายชาตรี ซึ่งประกอบด้วยคุณวุฒิ มารยาท มนุษยธรรม วีรกรรม ความทรหดอดทน อำนาจทางคาถาอาคม พลังกาย และความรู้ ความชำนาญในศิลปะมวยไทย และกระบี่กระบอง ผู้ชายในสมัยนั้นจะเข้าฝึกหัดมวยตามสำนักต่าง ๆ เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการฝึกหัดมวยไทยตามวัดด้วย วิธีการฝึกหัดมวยไทย ครูมวยไทยจะใช้กลอุบายให้นักมวยตักน้ำ ตำข้าว ผ่าพืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และอดทนก่อนจึงจะให้ฝึกฝึกชกลมด้วยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ ๆ ไว้ตามกิ่งไม้แล้วชกให้ถูกทั้งหมัด ศอก เข่า เท้า เตะต้นกล้วย ชกกับคู่ซ้อมและปล้ำคู่

3

และจบด้วยการว่ายน้ำตอนค่ำ ก่อนนอนครูมวยจะอบรมศีลธรรม จรรยา ทบทวนความจำจากการฝึกฝนศิลปะมวยไทยท่าต่าง ๆ (บัว  นิลอาชา, 2501)
                        ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 1983 2310 รวมระยะเวลา 417 ปี  พระมหากษัตริย์ได้ตั้งกรมนักมวยหรือกรมมวยหลวงมีหน้าที่สำคัญมากในการรักษาความปลอดภัยในพระราชวังและทำการฝึกหัดมวยไทยให้ทหารและพระราชโอรส เป็นต้น
                        ยุคปลายกรุงศรีอยุธยา หลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่สอง พ.ศ.2310 มีนักมวยที่มีชื่อเสียง 2 คน คนแรกคือ นายขนมต้ม คนที่สองคือ พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อนายจ้อย เป็นคนเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้ความสามารถเชิงมวยไทย ได้ร่ำเรียนวิชามวยไทยจากสำนักของครูเที่ยงและใช้วิชาความรู้ชกมวยหาเลี้ยงตัวเองมาจนอายุ 16 ปี จึงฝึกดาบ กายกรรมและมวยจีนจากคนจีน ด้วยมีฝีมือเป็นเลิศในเชิงมวยและดาบเป็นที่ปรากฏแก่สายตาของพระยาตาก จึงนำเข้ารับราชการได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยอาสา ในปี พ.ศ.2314 พม่ายกทัพมาตีเชียงใหม่ได้และยกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย สู้รบป้องกันเมืองไว้ได้จนดาบหักทั้งสองข้างจึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก              (เอกซเรย์,2505)
                        จากหลักฐาน ในการฝึกฝนและใช้ศิลปะมวยไทยที่ปรากฏชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าเสือ ทรงชอบฝึกฝนและชกมวยไทย เป็นอย่างมาก มักปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านธรรมดาแล้วออกเปรียบมวยชกกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ วันหนี่ง พระเจ้าเสือ ให้จัดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาประจำปี ที่ วัดใหญ่ และให้มีมวยฉลองตามประเพณีนิยม ซึ่งนายทองดี  ฟันขาว ได้เข้าไปเปรียบมวย และนายทองดี ได้ชกกลับครูห้าว ครูห้าว มีรูปร่างสูงใหญ่ล่ำสัน อายุ 36 ปี ครูห้าว เป็นครูมวยที่มีฝีไม้ลายมือในเรื่องมวยไทยเป็นหนึ่งน่าเกรงขาม แม้ผู้จัดการเปรียบชกมวยจะตักเตือนนายทองดีเพราะเห็นว่านายทองดีจะเจ็บตัว แต่นายทองดี ก็ยืนยันที่จะชกมวยกับครูห้าว ผู้จัดเปรียบมวยจึงจัดคู่ให้
                        พอถึงเวลาชกนายทองกับครูห้าวก็เข้าไปกลางสนาม นายทองดีเสกดินโรยศรีษะขอพรจากพระแม่ธรณี คารวะพระเจ้าตากด้วยการถวายบังคม จากนั้นก็ไหว้ครูร่ายรำมวยไทยตามแบบฉบับของสำนักมวยท่าเสาบวกกับท่าย่างเสือลากหาง ของสำนักดาบพระร่วง ของครูเหลือ เพื่อระลึกถึงคุณครูทั้งสอง ที่ได้ถ่ายทอดวิชาและครอบครูให้ เมื่อนายทองดีกับครูห้าว ไหว้ครูร่ายรำเสร็จเรียบร้อยก็ต่างย่างสามขุมเข้าหากัน ครูห้าวเตะและชกเป็นกระบวนต่อกัน เพื่อมิให้นายทองดีตั้งตัว นายทองดีถีบจิกสกัดกลางลำตัวตามแบบฉบับมวยท่าเสา ตามด้วยชกหมัดเข้าที่ตา พอครูห้าวหน้าหงาย นายทองดีก็ใช้ไม้มวยหนุมานเหยียบลงกาเหยียบชายพกครูห้าวขึ้นไปตีศอกคู่ลงบนศรีษะ พร้อมกับตีลังกาข้ามศรีษะ        


                         4


ครูห้าวด้านหลัง แล้วเตะซ้ายเข้าที่ปากครึ่งจมูกครึ่งแล้วก็เตะขวาตามที่ขากรรไกรจนครูห้าวล้มลง ทำให้ครูห้าวมีบาดแผลที่ศรีษะแตกสองแผล ฟันหักสอง ซี่ จมูกฉีก มีเลือกไหลออกจากปากจมูก หู และศรีษะท่วมตัว พระเจ้าตาก จึงถามนายทองดีว่าจะจะชกกับคนอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดีตอบว่าชกได้
พระเจ้าตาก จึงเรียกครูหมึกมาให้นายทองดีเปรียบ ครูหมึกมีรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน หน้าตาน่ากลัว           เมื่อถึงเวลาชก นายทองดีก็เสกดินโรยศรีษะขอพรจากพระแม่ธรณี คารวะพระเจ้าตาก และไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ตามแบบฉบับมวยท่าเสาของครูเมฆและท่าย่างเสือลากหางของครูเหลือ เมื่อทั้งคู่ไหว้ครูเรียบร้อยต่างก็ย่างเข้าหากัน ครูหมึกชกซ้ายขวามา นายทองดีก็ปิดป้องปัดหมัด ครูหมึกเตะตาม นายทองดีก็รับด้วยศอกแล้วเตะสวนที่ขากรรไกร แล้วนายทองดีก็เตะเลี้ยงซ้ายขวาเหมือนกับที่ฝึกเตะเลี้ยงต้นกล้วยมิให้ล้ม จนครูหมึกล้มลงสลบแน่นิ่ง พระเจ้าตาก พอใจมากและชักชวน นายทองดีให้ไปทำราชการด้วย นายทองดีก็ตกลงทำราชการกับพระเจ้าตาก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา   
                        จากหลักฐานที่ปรากฏ บิดาของเด็กชายจ้อย ได้นำเด็กชายจ้อยไปฝากเรียนหนังสือกับพระครูเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเมืองพิชัย แต่เด็กชายจ้อย สนใจในเรื่องการชกมวยมาก ที่ยอมไปเรียนหนังสือเพราะบิดาบอกว่า มวยชั้นสูงทั้งหลายมีอยู่ในตำรามวย  
           ถ้าอ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่สามารถจะเรียนรู้มวยระดับสูง ๆ ได้ เด็กชายจ้อย จึงยอมไปเรียนหนังสือจนสามารถอ่านออกเขียนได้ โดยใช้เวลาว่างฝึกฝนมวยด้วยการเตะเลี้ยงต้นกล้วยไม่ให้ล้ม และเตะจากล่างสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง 4 ศอก ทั้งหัดลบหลีกและปิดป้องไม่ให้ลูกมะนาวที่ผูกไว้เสมอหน้าแกว่งถูก เด็กชายจ้อยเรียนรู้มวยในชั้นแรกจากการตั้งอกตั้งใจดูมวย และครูพักลักจำ จากนักมวยที่มาชกในวัดพระธาตุ และวัดใกล้เคียง เด็กชายจ้อย ชอบเชิงมวยท่าเสามากที่สุด เพราะมีความสามารถโดดเด่น ในการเตะ ถีบ และศอก ทั้งยังมีการเคลื่อนไหวที่สวยงาม และมวยท่าเสาที่ไปชกตามตำบลใกล้เคียง      มักประสบชัยชนะ เด็กชายจ้อยจึงพอจะคาดการณ์ได้ว่ามวยท่าเสาต้องมีวิธีการชกที่ค่ายมวยอื่นไม่มี เด็กชายจ้อยเรียนหนังสือและฝึกมวยที่วัดพระธาตุเมืองพิชัยตั้งแต่อายุ  8 ขวบ จนถึงอายุ  14 ขวบ ก็ต้องหนีออกจากวัดพระธาตุ เพราะเกิดทะเลาะวิวาทชกต่อยกับคุณเฉิด ลูกเจ้าเมืองพิชัย และพรรคพวก เด็กชายจ้อยเดินทางขึ้นเหนือไปถึงบ้านแก่ง เขตอำเภอตรอนในปัจจุบัน และไปฝากตัวเพื่อเรียนมวยกับครูเที่ยง และเปลี่ยนชื่อเป็นนายทองดี  ฟันขาว (สมพร  แสงชัย, 2550)            
                        จากความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะดำเนินการศึกษาค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์ โดยกำหนดหัวข้อเรื่อง พัฒนาการมวยไทยท่าเสา เป็นหัวข้อของการวิจัย อาศัยการศึกษาเชิงมานุษยวิทยา ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของพัฒนาการมวยไทยท่าเสา และสืบสาน เผยแพร่ พัฒนาระเบียบแบบแผน ประเพณี กระบวนท่า และพัฒนาการของมวยไทยท่าเสา สืบไป
5

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.             เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของมวยไทยท่าเสา
2.             เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ ศาสตร์และศิลป์ของมวยไทยท่าเสา
3.             เพื่อศึกษาระเบียบแบบแผน ประเพณี ของมวยไทยท่าเสา
4.             เพื่อศึกษากระบวนท่าของมวยไทยท่าเสา
5.             เพื่อสืบสาน พัฒนากระบวนท่ามวยไทยท่าเสา

ความสำคัญของการวิจัย
                        เพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมา เอกลักษณ์ ระเบียบแบบแผน กระบวนท่าของมวยไทย       ท่าเสา และสืบสาน พัฒนากระบวนท่า ของมวยไทยภาคเหนือ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนากระบวนท่ามวยไทยภาคเหนือ ทั้งเป็นข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์มวยไทยท่าเสา ในการเผยแพร่ความรู้แก่ ชาวไทย และชาวต่างชาติ เพื่อสืบสาน ส่งเสริมมวยไทยท่าเสา สืบต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
                        การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังต่อไปนี้
                        1. ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย
        1.1 ศึกษาประวัติความเป็นมา ของมวยไทยท่าเสา
                                1.2 ศึกษาเอกลักษณ์ของมวยไทยท่าเสา ได้แก่ การตั้งท่ามวย หรือท่าจดมวยท่าครูหรือท่าย่างสามขุม การร่ายรำไหว้ครู การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย และการฝึกซ้อม
                                1.3 ศึกษาระเบียบแบบแผน และประเพณีของมวยไทยภาคเหนือ ได้แก่ การมอบตัวเป็นศิษย์ เครื่องรางของขลัง และระเบียบการแข่งขันของมวยไทยท่าเสา
                                1.4 ศึกษากระบวนท่าของมวยไทยท่าเสา ได้แก่ ไม้มวยท่าเสา
                        2. ขอบเขตประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
                                2.1 ครูมวย
                                2.2 ผู้ใกล้ชิด
                                2.3 นักมวย
                                2.4 ผู้ที่เกี่ยวข้อง


6

นิยามศัพย์เฉพาะ
                        อัตลักษณ์ หมายถึง การศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของมวยไทยท่าเสา
                        มวยไทยท่าเสา หมายถึง การต่อสู้แบบมือเปล่า ในเขตภาคเหนือ ด้วยการใช้ส่วน  ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก
                        เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่มีความโดดเด่น เฉพาะในด้าน ต่าง ๆ
                        ระเบียบแบบแผน ประเพณี หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน        
                        กระบวนท่า หมายถึง ชั้นเชิงของมวยไทยท่าเสาที่แสดงออกด้วยกระบวนท่าที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เช่น ไม้มวยท่าเสา เคล็ดมวยไทยท่าเสา





















7

กรอบแนวคิดในการวิจัย



                                                                                                                   
                                                                                                       ประวัติความเป็นมา
                               



                                                                                                   
                                                                                                                 เอกลักษณ์ ศาสตร์และศิลป์




      อัตลักษณ์                                                                 ระเบียบแบบแผน ประเพณี
      มวยไทยท่าเสา


                                                                                                   
                                                                                                                               กระบวนท่า




                                                                                           นำไปสู่การสืบสาน พัฒนาการมวยไทย
                                                                                ท่าเสา







8


วิธีการดำเนินการวิจัย

                        ในการศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาการมวยไทยท่าเสา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitave Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เอกลักษณ์ ระเบียบแบบแผน ประเพณี กระบวนท่า และการพัฒนาของมวยไทยท่าเสา ผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการวิจัยตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.             ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัย ได้เลือกประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น  2 กลุ่ม ดังนี้
1.1      ครูมวย หมายถึง ผู้สอนมวยไทยท่าเสา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
                                1.2 ผู้ใกล้ชิด หมายถึง ญาติของครูมวย นักมวย ที่ฝึกมวยไทยท่าเสา
1.3 นักมวย หมายถึง ผู้ที่ได้รับการฝีกมวยไทยท่าเสา
1.4 ผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับมวยไทยท่าเสา
                                1.5 การพัฒนา หมายถึง การทำให้มวยไทยท่าเสา ได้พัฒนาการกระบวนท่าไม้มวยไทยท่าเสาผสมผสานกับมวยไทยยุคปัจจุบัน
                        2. วิธีการศึกษาวิจัย
                                ผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการศึกษาวิจัยออกเป็น  2 วิธี ดังนี้
                                2.1 การศึกษาวิจัยจากเอกสาร (Documentary Study) เป็นการศึกษาข้อมูลจากแหล่งทุติยภูม (Secondary Sources) ได้แก่ วรสาร หนังสือ เอกสาร บทความ งานวิจัย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษไทยและภาษาต่างประเทศ โดยศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดของสถาบัน ต่าง ๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติ
                                2.2 การศึกษาวิจัยจากภาคสนาม (Field Study) เป็นการศึกษาข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ (Primmary Sources) ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะจงทางลึก (In-depth Interyiew)
และการสังเกต (Obseryation) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
3.             การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามขั้นตอน ดังนี้
                        การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร (Collection of Documentary Data)
                       

9


ได้แก่ วรสาร หนังสือ เอกสาร บทความ งานวิจัย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดจากสถานศึกษาต่างๆ
                        การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Collection of Field Data) ได้แก่
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะจงทางลึก (In-depth Interyiew) และการสังเกต (Observation) กับกลุ่มผู้รู้ กลุ่มครูมวย และนักมวยไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
4.             การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysi)
ตามขั้นตอน ดังนี้
                                4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เป็นการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับวรสาร หนังสือ บทความ งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อให้การวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทั้ง  4 ข้อ มีความสมบูรณ์ถูกต้อง
                                4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากภาคสนาม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์ของกลุ่มครูมวย ผู้ใกล้ชิด นักมวย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยท่าเสา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยการจัดอันดับความสำคัญของเนื้อหา วิเคราะห์แยกเป็นประเด็น เพื่อให้ได้ประวัติความเป็นมา เอกลักษณ์ ระเบียบแบบแผน ประเพณี กระบวนท่าของมวยไทยท่าเสา และพัฒนาการกระบวนท่ามวยไทยท่าเสา ต่อไป

ข้อตกลงเบื้องต้น
1.             การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาเฉพาะมวยไทยท่าเสา ด้านประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ ระเบียบ
แบบแผน ประเพณี กระบวนท่ามวยไทยท่าเสา
                        2.    ผู้วิจัย ถือว่าการให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนา กับ ครูมวย ผู้ใกล้ชิด นักมวย และ       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยท่าเสา ทุกท่าน ได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริง เชื่อถือได้ และสามารถตรวจสอบได้

                 





เค้าโครงปริญญานิพนธ์

ผู้วิจัย               จ.ส.อ.ภราดร    สังกรแก้ว
ปริญญา           ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
วิชาเอก            มวยไทยศึกษา
ปีการศึกษา                  2551

ชื่อเรื่อง            อัตลักษณ์มวยไทยท่าเสา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น