วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มวยไทยโบราณ

ตอนที่ 2
มวยไทยโบราณ

มวยไทยโบราณ
            จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ซึ่งจะมีลักษณ์ร่างกายโดยทั่วไปคือตัวเล็กกว่าคนที่อยู่ในแทบเขตหนาว มีความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง มีน้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นได้ดี มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้ำตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วน ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวก และรองเท้า สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหมัด เท้า เข่า ศอกได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว จึงนำไปใช้ผสมผสานกับการใช้อาวุธต่าง ๆ เพื่อป้องกันตนเองและที่อยู่อาศัย
             จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ชุมชนเชื้อสายต่าง ๆ ได้ทำสงครามรบพุ่งกันมาโดยตลอดมีการอพยพหนีภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ หาแหล่งที่ทำกิน ผู้คนถูกกวาดต้อนเป็นเชลย และการติดต่อค้าขาย ดังนั้น ความผสมกลมกลืนทางเชื้อสายเผ่าพันธุ์จึงมีมาโดยตลอด ภูมิปัญญาและศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนกันไปตลอดเวลา ศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองในระยะเริ่มแรกคงมีลักษณะคล้ายกัน โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ซึ่งเน้นการต่อสู้ด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
            มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติไทยมาช้านาน ซึ่งในสมัยโบราณประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอ ดังนั้น ชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกการใช้อาวุธ ต่อมามีวิวัฒนาการพัฒนาขึ้นมาจนกลายเป็นศิลปะการสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาท่าทางสวยงามแต่แฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกไว้เพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้อย่างดีอีกด้วย
            จากการศึกษาถึงระบบการถ่ายทอดลีลามวยไทยพบว่า ในอาณาจักรน่านเจ้า พีล่อโก๊ะมีการฝึกใช้อาวุธบนหลังม้า รู้จักใช้หอก ใช้ง้าว มีวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวเรียกว่าวิชาเจิ้ง (การต่อสู้
แบบจีนชนิดหนึ่งคล้ายมวยจีน) การต่อสู้สมัยนี้ส่วนมากจะใช้อาวุธ การต่อสู้ด้วยมือเปล่าก็มีบ้างจะใช้ระยะประชิดตัวนิยมการเรียนแบบจีน (รังสฤษฎ์  บุญชะลอ, 2541 : 14) สรุปไว้ว่า                    สมัยน่านเจ้าการต่อสู้ด้วยมือเปล่าใช้ระยะประชิดตัว นิยมเรียนแบบจีนเรียกว่า วิชาเจิ้ง
จากหลักฐานการใช้มวยไทยที่ปรากฏพอที่จะสรุปเป็นสมัยเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ถึงความเป็นมาของมวยไทยได้ตามยุคตามสมัย ดังนี้  

สมัยกรุงสุโขทัย
            สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 11) กล่าวว่า อาณาจักรสุโขทัยแรกตั้งนั้น จุลศักราช 600 ตรงกับมหาศักราช 1160 พ.ศ.1781 เจริญรุ่งเรืองเป็นราชธานีระหว่าง พ.ศ.1800 1920 ตลอดระยะเวลาประมาณ 120 ปี กรุงสุโขทัยต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรข้างเคียงอยู่เสมอ ในการทำสงครามดังกล่าวมีสงครามครั้งที่สำคัญถึง 3 ครั้ง คือ ศึกขุนสามชน ระหว่าง พ.ศ.1801 พ.ศ.1813 ตรงกับรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ศึกสองกรุง ประมาณ พ.ศ.1914 พ.ศ.1919 ตรงกับรัชสมัยพระยาลิไท และสงครามครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายของกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ.1919 1920 ตรงกับรัชสมัยพญาไสยลือไท ปลายสมัยกรุงสุโขทัยเป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเริ่มเรืองอำนาจและเข้ามาครอบครองอาณาจักรสุโขทัย
             สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 13) กล่าวว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสำนักที่ให้ความรู้ด้านศิลปศาสตร์มากมาย ซึ่งจัดขึ้นโดยนักปราชญ์หรือผู้เฒ่าที่มีความรู้มีประสบการณ์ในวิชาการต่าง ๆ ฝึกสอนให้กับเด็กหนุ่มไทย สำนักที่มีชื่อเสียงสำนักหนึ่งคือ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี ดังปรากฏในพงศาวดารว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เห็นว่า               กรุงสุโขทัย จะเป็นอาจักรที่ยิ่งใหญ่ครองเป็นอิสระได้นานนั้น ขึ้นอยู่กับผู้นำซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในด้านมวยการทหารและการปกครองด้วยเหตุนี้ จึงส่งเจ้าชายร่วง ซึ่งแปลว่ารุ่งเรือง โอรสองค์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา ให้ไปเล่าเรียนศิลปศาสตร์         ที่สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เจ้าชายร่วงจึงมีสหายร่วมสำนักอาจารย์เดียวกัน 2 พระองค์ เป็นโอรสของเจ้าผู้ครองนครเงินยาง และเจ้าผู้ครองนครพะเยา ทั้งสามพระองค์ได้ทรงศึกษาเป็นเวลา 3 ปี จึงสำเร็จแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับไปบ้านเมืองของตน
            จากการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยพบว่าการชกมวยถือเป็นการแสดงศิลปะ             ป้องกันตัวเป็นประเพณีที่ดีงามอย่างหนึ่ง   
            กำธร  คำประเสริฐ (2521 : 27 ) กล่าวไว้ในคำบรรยายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายตอนหนึ่งว่า กฎหมายไทยมีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ


พระองค์มาทรงฝึกหัดด้วยพระองค์เอง โดยฝึกให้มีความกล้า มีความเชื่อมั่นตนเอง ใช้อาวุธได้           ทุกชนิดอย่างชำนาญ มีความสามารถในศิลปะการต่อสู้มวยไทยได้ดีเยี่ยมและพระองค์ทรงตั้ง         กองเสือป่าแมวมอง เป็นหน่วยรบแบบกองโจร ซึ่งทหารกองนี้ มีบทบาทมากในช่วง พุทธศักราช          2147 – 2233 ในการกอบกู้เอกราชจากพม่า ในปีพุทธศักราช 2127  
            ชนทัต  มงคลศิลป์ (2550 : 12 - 13) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2199 สภาพบ้านเมืองสงบร่มเย็น มีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงให้การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมวยไทย นิยมกันมากจนกลายเป็นกีฬาอาชีพ มีค่ายมวยเกิดขึ้นมากมายมวยไทยสมัยนี้ชกกันบนลานดิน โดยใช้เชือกเส้นเดียวกั้นบริเวณสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ ด้ายดิบชุบแป้งหรือน้ำมันดินจนแข็งพันมือ เรียกว่า คาดเชือก นิยมสวมมงคลไว้ที่ศีรษะ และผูกผ้าประเจียดไว้ที่ต้นแขนตลอดการแข่งขันการเปรียบคู่ชกด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คำนึงถึงขนาดรูปร่างและอายุ กติกาการชกง่าย ๆ คือชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ ในงานเทศกาลต่าง ๆ ต้องมีการจัดแข่งขันชกมวยไทยด้วยเสมอและมีการเล่นพนันกันระหว่างนักมวยที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่งกับนักมวยที่เก่งอีกหมู่บ้านหนึ่ง          
            สมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พุทธศักราช 2240 – 2252 พระองค์ทรงโปรดการชกมวยมากด้วยมีครูมวยเก่งกล้ามาช่วยสอนในฐานะที่เป็นลูกชายของพระเพทราชา ครูมวยคนนั้นชื่อ ครูดั้ง  ตาแดง ซึ่งเป็นครวญเลี้ยงช้างในเมืองลพบุรี ของพระเพทราชา และเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยจน          พระองค์มีฝีมือกล้าแข็งทำให้พระพุทธเจ้าเสือโปรดการชกมวยไทยมาก เมื่อครั้งยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เคยมีเรื่องชกต่อยกับฝรั่งอยู่เสมอเพราะกลัวว่าฝรั่งจะมีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองอันเนื่องมาจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดฝรั่งมาก
            เทเลอร์  แรนดัล (2510 : 45) กล่าวว่า พระเจ้าเสือทรงมีฝีมือการชกมวยไทยชำนาญมาก เคยใช้ศิลปะมวยไทยไล่ชกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ซึ่งเป็นฝรั่งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดปรานมากโดยใช้วิธีการเตะ ต่อย แล้วลงเข่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้รับบาดเจ็บบอบช้ำเป็นอันมาก
            ประยูร  พิศนาคะ (2520 : 297) กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการกล่าวถึงกันมากในเรื่องความสามารถเกี่ยวกับมวยไทย เสียสละ และความกตัญญูรู้คุณ ทั้งได้ฝึกหัดมวยไทยที่ยังทรงพระเยาว์ ในพระราชสำนักและได้เร่ร่อนไปมวยไทยตามสำนักมวยต่าง ๆ อีกหลายสำนัก แม้พระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว พระองค์ยังพอพระทัยในการทอดพระเนตรการชกมวยไทย และพระองค์ทรงฝึกซ้อมมวย
ไทยอยู่เป็นประจำมิได้ขาด นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริมกีฬามวยไทย โดยทรงเป็นนักมวยเองและทรงชอบปลอมพระองค์ไปท้าชกมวยในสถานที่ต่าง ๆ สร้างความปิติยินดีให้กับราษฎรที่ได้ชื่นชมพระบารมี เพราะประชาชนชาวไทยตามหัวเมืองต่าง ๆ ก็นิยมชกมวยไทย ด้วยเห็นคุณค่าของการฝึกซ้อมมวยไทย ซึ่งเป็นศิลปะป้องกันตัว เป็นการบริหารร่างกายให้สง่างามสมเป็นลูกผู้ชาย เป็นการฝึกความแข็งแรง ทรหดอดทน มีน้ำใจนักกีฬา สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองในวงสังคม ที่สำคัญที่สุด ถ้ามีชั้นเชิงมวยไทยดีเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบของเจ้านายชั้นสูงแล้วก็จะได้รับการคัดเลือกให้ไปอยู่ในพระราชวังทำหน้าที่เป็นผู้สอนมวยไทยให้ขุนนาง ทหาร และ           พระราชโอรส หรือเป็นราชองครักษ์
            ประยุทธ  สิทธิพันธ์ (2520 : 4) กล่าวว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินมีกองกำลังทหารกองหนึ่งสำหรับทำหน้าที่ถวายการอารักขาเรียกว่า กองทนายเลือก ผู้เข้ารับราชการในกองนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากนักมวยฝีมือดี นอกจากนั้นเจ้านายชั้นสูงก็มีทนายเลือกไว้ประจำตัวเช่นเดียวกัน ทนายเลือกมีบทบาทสำคัญและอยู่ใกล้ชิดพระยุคลบาทพระเจ้าแผ่นดิน ดังเช่น
ระหว่างที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประชวนใกล้เสด็จสวรรคต มีข่าวว่าเจ้าพระยา                 วิชาเยนทร์ ซึ่งเป็นฝรั่งจะคิดกบฏ ขุนหลวงสรศักดิ์ได้ใช้ทนายเลือกไปลวงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามาในพระราชวัง แล้วให้ทนายเลือกคอยทีอยู่สองข้างทางพอเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ นั่งเสลียง
คนหามเข้ามา ทนายเลือกก็จัดการด้วยไม้พลอง แล้วฆ่าเสีย จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของทนายเลือกมีความสำคัญต่อพระมหากษัตริย์ และความมั่นคงของราชบัลลังค์มาก ทนายเลือกทำงานใกล้ชิดพระมหากษัตริย์มากที่สุดบางครั้งก็เป็นทหารรักษาพระองค์ บางครั้งก็ตรวจตราอยู่เวรยาม ซึ่ง เรียกซื่อแตกต่างออกไปตามหน้าที่นั้น ถ้าอยู่เวรยามเรียก กองตระเวน ดังนั้น นอกจากจะคัดเลือกเอาผู้มีฝีมือมวยไทยอย่างดีเยี่ยม แข็งแรง ล่ำสัน ทรหด อดทน มีไหวพริบ สติปัญญาดีแล้วจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์อย่างจริงใจด้วย
                        ประยูร  พิศนาคะ (2505 : 53 54) กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเสือ ทรงแต่งกายแบบชาวบ้านเสด็จทางชลมารคพร้อมเรือตามเสด็จไปจอดที่ตำบลตลาดกรวด ซึ่งมีงานมหรสพมีผู้คนไปเที่ยวงานอย่างเนืองแน่น มีการละเล่นมากมายหลายอย่างทั่วบริเวณ พระองค์เสด็จไปยังสนามมวยและให้นายสนามจัดหาคู่ชกให้ โดยนายสนามประกาศให้ประชาชนทราบว่า พระองค์เป็นนักมวยจากเมืองกรุง ประชาชนสนใจมาก เพราะสมัยนั้น นักมวยกรุงศรีอยุธยามีชื่อเสียงมากนายสนามได้จัดเอานักมวยฝีมือดีของ เมืองวิเศษไชยชาญเท่าที่มีอยู่มาเป็นคู่ชกพระเจ้าเสือได้ชกกับ
นักมวยถึงสามคนมี นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่  หมัดเหล็ก และนายเล็ก  หมัดหนัก ซึ่งแต่ละคนมีฝีมือดีเยี่ยม การต่อสู้เป็นไปอย่างน่าดูด้วยฝีมือเก่งพอ ๆ กัน แต่ด้วยความฉลาดและความชำนาญ
ในศิลปะมวยไทย ที่พระองค์ได้ทรงฝึกหัดและศึกษาจากสำนักมวยหลายสำนัก จึงทำให้พระองค์สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทั้งสามคนได้ โดยที่คู่ต่อสู้ต่างได้รับความบอบช้ำเป็นอันมาก
            ส.พลายน้อย (2534 : 215 216) กล่าวไว้ว่า กองทนายเลือกสมัยกรุงศรีอยุธยาทำหน้าที่หลายอย่างบางครั้งก็เรียกตำรวจหลวง ทนายตำรวจ หรือกรมนักมวย ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในพระราชวัง กรมนักมวยหรือทนายเลือกเป็นกรม ๆ หนึ่งสำหรับกำกับนักมวย ทนายเลือกหรือพวกนักมวยที่จัดขึ้นเป็นรักษาพระองค์นั้นเห็นจะมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว
            สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2510 : 424) กีฬามวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการฝึกหัดมวยไทยในพระราชวัง ตามวัด และสำนักมวยประจำหมู่บ้านที่ครูมวยอาศัยอยู่ ครูมวยที่สอนในพระราชวังก็เป็นครูมวยที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่สอนมวยหรือเป็นทนายเลือก ส่วนครูมวยที่สอนตามวัดก็มักเป็นครูมวย หรือข้าราชการที่ออกบวชเมื่อมีอายุมาก หรือบวชเพื่อหนีภัยทางการเมือง ซึ่งล้วนแต่มีความรู้ความสามารถใน       ศิลปศาสตร์ หลายแขนง ลาลูแบร์ ฝรั่งต่างชาติซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงความนิยมชกมวยในสมัยนั้นว่า ในสมัยอยุธยามีการชกมวย หมัด ศอก เข่า และเท้า ผู้คนนิยมกันมากจนบางคนก็ยึดเป็นอาชีพ
            ความนิยมฝึกหัดวิชามวยไทย ในหมู่ประชาชนชาวไทย มีอยู่โดยทั่วไป จึงทำให้มีนักมวยฝีมือดีเกิดขึ้นมากมาย หลายคนถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยในคราวกรุศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าเป็น ครั้งที่ 2  เมื่อ พ.ศ.2310  จึงปรากฏเรื่องราวของนักมวยไทยในพงศาวดาร ซึ่งบันทึกเหตุการณ์       เมื่อครั้ง พระเจ้าอังวะ จัดพิธียกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกศธาตุ เสร็จแล้วให้มีงานเฉลิมฉลอง            จัดงานสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่
            เอกซ์เรย์ (2515 : 225 252) กล่าวว่า ขุนนางพม่ากราบทูลว่า ชาวไทยมีฝีมือมวยไทยดีแทบทุกคน จึงตรัสสั่งให้จัดหานักมวยมาเพื่อชกกันในงานนี้ ได้นักมวยไทยฝีมือดีคนหนึ่งชื่อ  นายขนมต้ม นายขนมต้มคนนี้เป็นนักมวยมีชื่อเสียงมากตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ขุนนางพม่าได้นำตัวนายขนมต้ม มาถวายพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะ จึงจัดให้นักมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม เมื่อได้คู่กันแล้วก็ให้ชกกันต่อหน้าพระที่นั่ง และนายขนมต้มชกพม่าไม่ทันยกก็แพ้ถึงเก้าคน       สิบคน พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรแล้วตรัสสรรเสริญฝีมือมวยนายขนมต้มว่า ไทยมีพิษอยู่ทั่วตัว          
แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้คนเดียว ชนะถึงเก้าคน สิบคน ฉะนี้ เพราะเจ้านายไม่ดีจึงเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าเจ้านายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุธยา วันที่นายขนมต้ม ชกกับมวยพม่านั้นเป็นวันที่  17 มีนาคม พ.ศ.2313 การเสียกรุงของไทยครั้งหลัง  พ.ศ.2310 นั้น เนื่องจากกษัตริย์ อ่อนแอ ซึ่งเป็นรัชสมัยสมเด็จพระเอกทัศน์หรือสมเด็จพระนั่งสุริยาสน์อมรินทร์
            กฎหมายตราสามดวง (2521 : 408 409) กล่าวว่าจากการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยพบว่า ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีกฎหมายเกี่ยวกับการชกมวยอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า พระอัยการเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุศรีอยุธยา และนำมาชำระในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2347 ตรงกับรัชกาลที่ 1  มีความว่า 117 มาตราหนึ่ง ชนทั้งสองเปนเอกจิตเอกฉันท์ ตีมวยด้วยกันก็ดี แลปล้ำกันก็ดี แลผู้หนึ่งต้องเจปปวดก็ดี ข้นหักถึงแก่มรณภาพก็ดี ท่านว่าหาโทษมิได้ อนึ่งมีผู้ยุะยงตกรางวัลก็ดี ให้ปล้ำตีนั้นผู้ยุะหาโทษมิได้ เพราะเหตุผู้ยุะนั้น จะได้มี        เจนาที่จะใคร่ให้สิ้นชีวิตรหามิได้ แต่ใคร่ดูเล่นเปนผาสุกภาพเปนกำมแก่ผู้ถึงมรณภาพเองแล

สมัยกรุงธนบุรี
            นคร  พันธุ์ณรงค์ (2526 : 40) สมัยกรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ.2310 พ.ศ.2325 หลังจากที่กรุงศรีอยุธยา เสียเอกราชให้แก่พม่า สภาพบ้านเมืองวัดวาอารามถูกทำลาย พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ 15 วัน และได้ฆ่าผู้คนไม่เลือก และพม่าพยายามฆ่าพระสงฆ์มากกว่าในตอนเช้าเวลาเดียวเท่านั้นพม่าฆ่าพระสงฆ์มากกว่า 20 องค์ พม่ากวาดต้อนประชาชนไปเป็นเชลยประมาณ 1 แสนครอบครัว เกิดสภาพข้าวยากหมากแพง ทำให้โจรผู้ร้ายชุกชุม แย่งชิง
เสบียงอาหาร และฝนไม่ตกตามฤดูกาล ประมาณว่ามีผู้คนล้มตายมากกว่าเมื่อครั้งพม่าตี             กรุงศรีอยุธยา
            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พยายามรวบรวมไพร่พลที่หนีกระจัดกระจายอยู่ตามป่าตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อกอบกู้เอกราชจนสามารถตั้ง กรุงธนบุรี เป็นราชธานีได้เมื่อ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก  ตลอดเวลาดังกล่าว ประเทศชาติไม่ได้วางเว้นจากการทำสงคราม ทั้งจากศัตรูภายนอกประเทศและจากการตั้งตัวเป็นใหญ่ของชุมชนต่าง ๆ ทำให้คนไทยที่มีความรู้ด้านใน ศิลปศาสตร์ แขนงต่าง ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงต้องแสวงหาผู้รู้ผู้ชำนาญการต่าง ๆ เข้ามาใน      กรุงธนบุรี เพื่อฝึกฝนวิชาความรู้ต่าง ๆ ทั้งทางการศาสนา การเมือง การปกครอง ยุทธวิธีการรบ การฝึกหัดมวยไทย กระบี่ กระบอง ดาบ ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำศึกสงคราม
ประยูร  พิศนาคะ (2505 : 29 31)  กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนใจมวยไทยเป็นพิเศษ ทรงมีความสามารถในศิลปะมวยไทย และกระบี่ กระบอง เป็นอย่างดี ในขณะอายุ  9 ขวบ เข้าศึกษาที่ วัดโกษาวาศน์ (วัดคลัง) และทรงฝึกหัด         มวยไทยจากทนายเลือกในพระราชวังและสำนักมวยอื่น ๆ อีกหลายสำนัก การที่พระมหากษัตริย์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทรงสนพระทัยและสนใจการชกมวย จึงทำให้ราษฎรสนใจในการฝึกหัดมวยไทยกันอย่างกว้างขวางมีเด็กหนุ่ม ๆ จำนวนมากที่พยายามเสาะแสวงหาครูมวยที่มีชื่อเสียง เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ให้ครูมวยได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ดังนั้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และสมัยกรุงธนบุรี จึงมีนักมวยที่มีความสามารถเกิดขึ้นมากมาย ที่มีชื่อเสียงและกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ได้แก่ ครูเมฆ บ้านท่าเสา ครูเที่ยง  บ้านแก่ง นายทองดี  ฟันขาว (นายจ้อย) หรือ จมื่นไวยวรนารถ หรือพระยาสีหราชเดโช หรือพระยาพิชัยดาบหัก ครูห้าว  แขวงเมืองตาก  ครูนิล  เมืองทุ่งยั้ง นายถึก  ศิษย์ครูนิล ส่วนที่เป็นทนายเลือกของพระเจ้าตากสินมีหลายคน เช่น นายหมึก  หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา และขุนอภัยภักดี
            สำนักมวยสมัย กรุงธนบุรี มีลักษณะคล้าย ๆ กับในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีสำนักมวยในพระราชวัง สำหรับฝึกหัดมวยไทยให้ทหารและขุนนาง และมีสำนักมวยตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วไป การฝึกหัดก็นิยมฝึกหัดกันในบริเวณวัด เพราะบริเวณวัดกว้างขวางเหมาะสมอย่างยิ่งในการฝึกหัดมวย และอีกอย่างหนึ่งคนเก่งไม่ว่าจะเป็นนักรบ และนักมวยเมื่อแก่เฒ่าลงมักจะใช้ชีวิตในบั้นปลายออกบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัด ลูกศิษย์เมื่อได้ยินข่าวว่ามีฝีมือดีก็จะติดตามไปขอมอบตัวเป็นลูกศิษย์เพื่อฝึกหัดมวยด้วย จะเห็นว่า ครูเที่ยง  บ้านแก่ง ซึ่งเป็นครูมวยของ นายทองดี  ฟันขาว
ก็เป็นศิษย์เอกของสมภารวัดบ้านแก่ง เมืองพิชัย พระเจ้าบุเรงนอง ผู้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ก็เป็นศิษย์เอกของ ขรัวเจ้ากุโสตอ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
            สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 24 - 25) กล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จ         พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1144 ตรงกับวันที่  21 เมษายน 2535 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยยังคงมีสงครามติดพันอยู่กับประเทศพม่า และการปราบกบฏในหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยนี้การจัดกระบวนทัพยังคงรูปแบบเดิม ดังเช่นการรบในครั้ง
สงครามเก้าทัพ พ.ศ.2328 แทนที่กองทัพไทย จะตั้งรับอยู่ที่เมืองหลวง ให้กองทัพไทยออกไป       ตั้งรับนอกเมืองหลวง ที่ทุ่งลาดหญ้า อยู่ต่อเชิงเขาบรรทัด พม่าที่ยกเข้ามาก็ต้องตั้งอยู่บนภูเขา      อันเป็นกันดารจะหาเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพและจะเดินกระบวนทัพก็ยาก นอกจากนี้ยังจัดกองโจรออกคอยซุ่มโจมตีกองลำเลียงเสบียงอาหาร และการทำกลลวงต่าง ๆ ให้พม่าเข้าใจผิด          คิดว่าไทยมีกองกำลังรบมาเสริมตลอดเวลา ในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์นั้นได้มีการนำอาวุธปืนและวัตถุระเบิดเข้ามาใช้ในการสงครามมากขึ้น ใน พ.ศ.2387 ตรงกับรัชกาลที่ 3 เกิดปัญหาความวุ่นวายของคนจีนในหัวเมืองต่าง ๆ จึงต้องส่งกำลังทหารไปปราบ ในสมัยนั้นทหารปืนเป็นกำลังสำคัญในการควบคุมความสงบในประเทศ จีนเผี้ยว กับจีนก้วน ตั้งอยู่ในป่าแสมริมชายทะเลใกล้กับปากน้ำบางปะกงได้ลักลอบขายฝิ่นก้อนอยู่เป็นประจำ พระยามหาเทพ จึงให้จหมื่นสมุหพิมาน (สมบุญ) ออกไปจับ ก็สู้ไม่ได้แตกหนีกลับมา เมื่อความทราบถึงรัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้า ฯ ให้  จหมื่นราชามาตย์ กับพวกทหารปืนปากน้ำออกไปจับ ได้ต่อสู้รบพุ่งกันสามารถจับตัว จีนเผี้ยว จีนก้วน กับฝิ่น จำนวน 30 ก้อน เข้ามาถวายได้
            จากเหตุการณ์ทั้งสองทำให้พอทราบถึงการพัฒนาการรบของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่าความสำคัญของมวยไทยที่เคยเป็นวิชาติดตัวทหารไทยทุกคน เพื่อใช้ช่วยในการรบแบบประชิดตัว ได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากอิทธิพลของวิทยาการสมัยใหม่ ที่ฝรั่งต่างชาติ นำเข้ามาส่งผลให้วิธีการรบแบบดั้งเดิมเริ่มปรับเปลี่ยนไป
            ส่วนการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับมวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มปรากฏหลักฐานมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีภาวะสงครามลดลง และสิ้นสุดสงครามระหว่างไทยกับพม่า เมื่อ พ.ศ.2397  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2  ซึ่งเป็นการรบที่แตกต่างจากการรบแบบเดิม    
           ในสมัยรัตนโกสินทร์ นี้เป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วรรณคดี และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการผลิตวัสดุ การจัดพิมพ์ การติดต่อสื่อสาร จึงมีการบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมวยไทยก้าวขวางขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมวยไทย เปลี่ยนจากการเป็นศิลปะการต่อสู้ในยามสงคราม มาเป็นกีฬาแขนงหนึ่งที่คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมยกย่อง

       ทั้งสองก็ออกเรือกลับไปเลยยังไม่ได้เห็นฝีมือหมื่นผลาญ เพราะหมื่นผลาญกำลังดูชั้นเชิงของคู่ต่อสู้คิดว่าจะเผด็จศึกเอาตอนหลังเมื่อฝรั่งหมดแรง

สมัยรัชกาลที่ 2
            สมัยรัชกาลที่ 2  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ทรงครองราชย์ พ.ศ.2352 ซึ่งเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ในรัชสมัยนี้ปรากฏมีการบันทึกถึงเรื่องราวมวยไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง บางเรื่องก็เป็นพระราชนิพนธ์ในพระองค์เอง เช่น
            บัดนี้                                                       ประชาชนคนดูอักนิษฐ์
            เห็นเหาะทั้งสองข้างต่างมีฤทธิ์               ให้คิดพิศวงงงงวย
            บ้างแหงนหน้าอ้าปากตะลึงตะไล          แลดูภูวไนยเอาใจช่วย
            เบียดเสียดเยียดยัดดังดูมวย                     แซ่ซร้องร้องอำนวยอวยชัย
                                                                                         สังข์ทอง  หน้า  172
            มีทั้งโขนละครมอญรำ                            มวยปล้ำค่ำลงจงมีหนัง
            ตีประโคมฆ้องกลองให้ก้องดัง              ให้หีบตั้งใส่ศพให้ครบครัน
                                                                                          ขุนช้าง ขุนแผน  หน้า 892
            ให้เปรียบคู่ผู้หญิงชกมวยปล้ำ                 ข้างหนึ่งดำข้างหนึ่งขาวสาวขยัน
            การเกงลายสายถักเสื้อกั๊กกัน                 ต่างตั้งมั่นแหม่นเหม่คนเฮฮา
            เข้าทุบทอยต่อยตะกายป่ายปุบปับ          เสียงตุบตับเตะผางถูกหว่างขา
            การเกงแยกแตกควากเป็นปากกา           ผู้ชายฮาเฮลั่นสนั่นดัง
            ต่างเหนื่อยหอบหมอบทรุดให้หยุดอยู่     จูงมือคู่ปล้ำเข้ามาหน้าที่นั่ง
            ต่างประหม่าหน้าตื่นยืนเก้งกัง                เขาทุบหลังให้บังคมประพรมน้ำ
            แล้วลุกขึ้นยืนประจัญขยั้นขยับ              เข้ายุดาจับขาแข้งแย่งขยำ
            ต่างกอดเกี้ยวเกลียวกลมล้มคะมำ          คนหนึ่งคว่ำคนหนึ่งหงายผู้ชายฮา
            ขึ้นอยู่บนคนคว่ำขยำขยิก                       คนล่างพลิกผลักแพลงไขว้แข้งขา
            กอดประกับกลับไพล่พลิกไปมา            คนดูฮาเฮสนั่นครื้นครั่นไป
                                                                                                       สิงหไกรภพ  หน้า 302 303
            นิทานคำกลอนที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2  แสดงถึงภาพลักษณ์ของกีฬามวยไทยไว้ชัดเจนว่าเป็นการแข่งขันที่มีคนนิยมกันมากที่สุดในสมัยนั้น และเป็นการบันเทิงชนิดหนึ่ง ในงานเทศกาลประเพณี เช่น งานสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา เทศกาลกฐิน งานบวช งานแต่ง หรืองานฉลองสมโภชต่าง ๆ มักจะมีพิธีทางศาสนาและการบันเทิงควบคู่กันไป ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจในการพระศาสนาแล้วยังได้ความสนุกสนานบันเทิงใจ ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยสืบต่อไป การบันเทิงที่เป็นกีฬา เช่นวิ่งวัว มวยปล้ำ การแข่งเรือในหน้าน้ำหลาก เล่นว่าวในฤดูหนาว ที่ต้องอาศัยความแข็งแรง ความสามารถคีและความพร้อมเพรียงกันด้วย (ศิริกุล  สันติชาติ. 2536 : 237 239)

สมัยรัชกาลที่ 3
            สมัยรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ ฑ.ศ.2367 ในสมัยนี้ ปรากฏคำกลอนที่กล่าวถึง การชกมวยหญิงในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ดังนี้
            แล้วพระองค์ทรงสั่งให้ตั้งแต่ง               ศพตำแหน่งน้อยพระมเหสี
            มีโขนหนังตั้งสมโภชโปรดเต็มที           แล้วให้มีมวยผู้หญิงแล้วทิ้งทาน
                                                                                                            พระอภัยมณี หน้า 310
            ในสมัยนี้ปรากฏหลักฐานที่สำคัญที่สุดอันเป็นเรื่องของมวยไทยโดยตรงได้แก่ ตำรามวยไทยโบราณที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นภาพเขียนท่ามวยลงในสมุดข่อย มีภาษาไทยเขียนบอกว่าแม่ไม้ ลูกไม้ และไม้แก้ มีจำนวนภาพทั้งหมด 46 ภาพ ประกอบด้วยภาพการตั้งท่าชกมวย
2 ภาพ ภาพชุดแม่ไม้มวยไทย 23 ภาพ มี 12 ท่า ภาพชุดลูกไม้มวยไทย 21 มี 12 ท่า ตำรามวยโบราณฉบับนี้ พระปลัดเต็ง วัดชนะสงคราม ได้นำมามอบให้หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2474 ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติ ได้เก็บรวบรวมตำรามวยไทยโบราณเล่มนี้ไว้ที่หมวดตำราภาพ เลขที่ 10/ก มัดที่ 3 ตู้ที่ 117
            จากหลักฐานภาพเขียนท่ามวยไทยโบราณ ทำให้ทราบว่าครูมวยที่เขียนภาพเรียกท่ามวยนั้นว่าไม้ และลูกไม้ น่าจะหมายถึงแม่ไม้ลูกไม้ซึ่งมีอยู่อย่างละ 12 ท่า อันเป็นส่วนสำคัญให้เห็นการพัฒนาการของมวยไทย ซึ่งต่อมามีครูมวยที่มีความสามารถค้นคิดท่ามวยแยกย่อยออกไปอีกและเรียกชื่อต่างกันไป เพื่อประโยชน์ในการจดจำและแยกประเภทท่ามวยนั้น ๆ เช่น กลมวย เชิงมวย ไม้เกร็ด เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 4
            สมัยรัชกาลที่ 4   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ พ.ศ.2394 พระองค์ทรงโปรดกีฬากระบี่ กระบอง และมวยไทยมาก ได้ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดกระบี่ กระบอง และมวยไทยจนชำนาญ และในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ทรงแต่งองค์อย่างกุมารเล่นกระบี่ กระบอง และชกมวยในงานสมโภชหน้าพระอุโบสถวัดพระศรี            รัตนศาสดาราม
            ในสมัยนี้ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการนำอารยธรรมตะวันตก เข้ามามีบทบาทในประเทศหลายด้าน เนื่องจากมีพวกมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสนพระทัยในวิทยาการของตะวันตกมาก จึงให้เริ่มมีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป แต่เป็นเพียงทหารรักษาพระองค์ ทหารที่รบป้องกันประเทศยังเป็นรูปแบบเดิมอยู่ การศึกษาเจริญก้าวหน้ามากในสมัยนี้ ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนในหลาย ๆ ระดับ และหลายสาขาการศึกษา

สมัยรัชกาลที่ 5
            สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงศึกษาศิลปะมวยไทยมาจากสำนักมวยหลวง ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงมลโยธานุโยค (เสรี  อาจสาลี 2520  : 131) ครูมวยหลวงเป็นผู้สอนทำให้พระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมาก
ในสมัยนี้การฝึกหัดมวยได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศ เพราะได้จัดให้มีการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานพระราชทาน
เพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช นักมวยที่เจ้าเมืองนำมาแข่งขันล้วนแต่คัดเลือกคนที่มีฝีมือดี การแข่งขันครั้งนี้ได้นักมวยที่สามารถชกชนะคู่ต่อสู้หลายคน และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ได้แก่
            หมื่นมวยมีชื่อ เป็นนักมวยจากไชยา ซื่อนายแปรง  จำนงทอง ลูกศิษย์พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ  ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา
            หมื่นมือแม่นหมัด เป็นนักมวยจากลพบุรี ชื่อนายกลึง  โตสะอาด
            หมื่นชงัดเชิงชก เป็นชาวโคราช ชื่อนายแดง  ไทยประเสริฐ ลูกศิษย์คุณพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช มีชื่อในเรื่องการใช้หมัดเหวี่ยงควาย
พ.ศ.2430 ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกรมศึกษาธิการ การจัดระบบการศึกษาไทย จึงเป็นขั้นตอนมากขึ้น โดยการเรียนการสอนของพลเรือนแยกออกจากการทหาร  วิชามวยไทย เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา และในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถือว่าวิชามวยไทย เป็นวิชาที่สำคัญมากในหลักสูตร ทำการฝึกหัดมวยไทย สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง พ.ศ.2437 ร้อยเอกขุนเจน  กระบวนหัด ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนวิชามวยไทย ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
            ในสมัยนี้ กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวง แล้วมีการปรับปรุงใน พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2502 โดยถือว่าการแข่งขันชกมวยเป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่ต้องเสียภาษีอากร  คำว่า มหรสพ ตามความหมายในประมวลรัษฎากร หมายความว่า การแสดง (Show or Exhitions) การเล่น (Play or Performances) หรือการกีฬา (Games or Sports) การประกวด (Competition or Comtests) หรือการกระทำใด ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู (มาตรา 130 แห่งประมวลรัษฎากร) เช่น ภาพยนตร์ ละคร ลำตัด งิ้ว เต้นรำ กายกรรม ฟุตบอล แข่งม้า ชนโค ประกวดสัตว์หรือพืชต่าง ๆ เป็นต้น การแข่งขันชกมวย มวยปล้ำ หรือการแสดงกีฬาพื้นเมือง เก็บอากรร้อยละ 15 ของค่าดู หากเป็นกีฬา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจัด เก็บอากรร้อยละ 10 ของคนดู แต่จะได้รับการยกเว้นอากรถ้าเป็นการจัดเพื่อบำรุงสาธารณประโยชน์ จัดในเขตวัดหรือใกล้วัด ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปี หรือกีฬาสำหรับสถานศึกษา เป็นต้น
            ในช่วง พ.ศ.2325 2411 ซึ่งอยู่ในระหว่าง รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี การฝึกหัดมวยไทยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการทหารและการป้องกันประเทศชาติ ยามว่างจากศึกสงคราม ก็มักจะฝึกหัดมวยไทย ไว้เพื่อเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของลูกผู้ชาย และจัดชกกันเพื่อความสนุกสนานเหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี เพราะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ระยะนี้ยังใช้กฎหมายตราสามดวง ปกครองบ้านเมือง ซึ่งรวบรวมมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา
            พ.ศ.2411 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีการจัดเก็บภาษีอากรต่าง ๆมากมาย แต่ไม่มีการเก็บภาษีการจัดแข่งขันชกมวย เพราะการแข่งขันชกมวยในสมัยนี้ ส่วนมากจะจัดแข่งขันตามสนามมวยชั่วคราว จัดเป็นประเพณี จัดเป็นการกุศล นักมวยก็ชกไม่ได้เงินมากมายนัก ดังนั้น การฝึกหัดมวยไทยสมัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้ารับราชการทหาร บางคนฝึกไว้เพื่อชกมวยตามงานเทศกาลต่าง ๆ
สมัยรัชกาลที่ 6
            สมัยรัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชวงศ์จักรี พ.ศ.2453 2468 ได้มีสนามถาวรขึ้นแห่งแรกจัดตั้งในปี พ.ศ.2463 คือสนามมวยสวนกุหลาบ สนามมวยท่าช้าง สนามมวยหลักเมือง สนามมวยสวนสนุก และสนามมวยสวนเจ้าเชตุ นักมวยเริ่มมีรายได้มากขึ้น มีรายการชกประจำ ผู้จัดก็ได้รับเงินมาก และมีการเล่นการพนันในสนามมวยมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี พ.ศ.2478 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีพระราชบัญญัติการพนันขึ้นครั้งแรก ในวันที่  31 มกราคม พ.ศ.2478 เรียกว่า พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478             
(ชนทัต  มงคลศิลป์, 2550)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น