สมัยรัชกาลที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 24 - 25) กล่าวไว้ว่า หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดได้แก่ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และชำระเมื่อ พ.ศ.2347 ซึ่งได้กล่าวถึงการตีมวย และปล้ำกันไว้ใน พระอัยการเบ็ดเสร็จ อันเป็นสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทกัน การนิยมการชกมวยไทยคงมีอยู่ทั่วไป จึงทำให้ชาวต่างชาติสนใจเข้ามาถ้าชกพนัน ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
กรมศิลปากร (2520 : 109) ชาวรัตนโกสินทร์นิยมชกมวยไทยตามงานวันสำคัญต่าง ๆ เช่น งานปิดทองพระ งานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา งานประจำปี และงานรับเสด็จเจ้านาย ทำให้ชาวต่างประเทศที่ได้เห็นการต่อสู้แบบศิลปะมวยไทย แล้วคิดว่าคนไทยแทบทุกคนดูเหมือนจะเป็นนักมวยไปหมด จนฝรั่งได้ข่าวว่าคนไทยชกมวยไทยเก่งเลยอยากที่จะมาประลองฝีมือดู ในปี พ.ศ.2331 ฝรั่งที่เข้ามาท้าพนันชกมวยนั้น ตามพงสาวดารว่าเป็นฝรั่งเศส ฝรั่งที่เข้ามาชกในครั้งนั้นเป็นนายกำปั่น 2 คน พี่น้อง คนที่จะชกเป็นน้อง ซึ่งมีฝีมือดี เที่ยวพนันชกมวยชนะมาหลายเมือง จึงมาท้าชกกับคนไทย
เมื่อมาถึงพระนคร นายกำปั่น ให้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลังว่าจะขอชกมวยพนันกับคนไทย พระยาพระคลังจึงกราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงดำรัสปรึกษากับ กรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือมวยไทย และควบคุมกรมทหารเลือกอยู่ในขณะนั้น เห็นว่าเป็นการต่อสู้เพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของคนไทย จึงตกลงพนันกันเป็นเงิน 50 ชั่ง กรมพระราชวังบวร ฯ จึงจัดการคัดเลือกนักมวยชื่อ “หมื่นผลาญ” เป็นทนายเลือกวังหน้า แล้วจัดสนามมวยปลูกพลับพลาขึ้นสนามหลังวัดพระแก้ว เมื่อถึงเวลาชกก็ตรัสให้แต่งตัว หมื่นผลาญ ชโลมน้ำมัน ว่านยา และให้ขี่คอคนมาสนามมวย
เมื่อเริ่มชกกับฝรั่งซึ่งได้เปรียบทางด้านร่างกายที่สูงใหญ่กว่า พยายามเข้ามาปล้ำจะจับหักกระดูก แต่หมื่นผลาญ ใช้วิธีชกพลางถอยพลางป้องกัน แล้วก็เตะ ถีบ ต่อย แล้ววิ่งถอยออกมา ฝรั่งโดนหมัด โดนเตะหลายครั้งแต่ไม่ยอมล้ม การต่อสู้ดำเนินไปในรูปแบบเดิม ฝรั่งทำอะไรหมื่นผลาญไม่ได้ ฝ่ายฝรั่งผู้พี่ชายเห็นว่าถ้าหมื่นผลาญเอาแต่ถอย น้องชายของตนคงแย่แน่ เลยกระโดดเข้าไปผลักหมื่นผลาญไม่ให้ถอยหนี การกระทำเหมือนช่วยกันเลยกลายเป็นมวยหมู่ระหว่างฝรั่ง
กับพวกทนายเลือกซึ่งล้วนมีฝีมือมวยไทยจึงพากันเตะต่อยฝรั่งจนบาดเจ็บสาหัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระราชทานหมอยา หมอนวด ให้ไปรักษาพยาบาล แล้วฝรั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น