วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ชักคะเย่อ

กีฬาพื้นบ้านไทย
ภูมิปัญญาไทย More Than Sports
ชักคะเย่อ
                        ชักคะเย่อ
                        ชักคะเย่อ เป็นการละเล่นกีฬาพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการเล่นสืบทอดกันมายาวนาน สันนิษฐานได้ว่าดัดแปลงมาจากการละเล่นซักส้าว ซึ่งมีลักษณะการเล่นดึงกันไปมา และมีการแข่งขันในกรีฑานักเรียน ครั้งแรกของกรมศึกษาธิการ    ท้องสนามหลวง พ.ศ.2441 และแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคกลาง นิยมแข่งกันเป็นหมู่คณะ  7 20 คน การเล่นชักคะเย่อเป็นที่นิยมกันเล่นในงานเทศกาล งานประเพณี ต่างๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
                        อุปกรณ์
1.             เชือกขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ  20 30 เมตร  จำนวน  1 เส้น
2.             ผ้าแดง  3 ผืน สำหรับใช้ผูกเป็นเครื่องหมายที่เชือก  3 ระยะ คือ ผืนหนึ่งผูกไว้ตรงกลางความยาวของเชือก อีก  2 ผืน ผูกไว้โดยวัดจากกึ่งกลางของเชือกออกไป ข้างละ  2 เมตร
วิธีการเล่น
1.             จัดหาสถานที่ให้กว้างเพียงพอ ขีดเส้นยาวลงบนพื้น หนึ่งเส้นเป็นเส้นแบ่งแดน ห่างจากเส้นแบ่งแดนออกไปข้างละ  2 เมตร ตีเส้นยาวขนานกับเส้นแบ่งเขตแดนของแต่ละฝ่าย
2.             นำเชือกมาวางลงที่พื้นตามยาว ให้เชือกพาดผ่านเส้นแบ่งแดน โดยให้กึ่งกลางเชือกทับเส้นเขตแบ่งแดนของแต่ละฝ่ายพอดี ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายอยู่คนละแดน ยืนเป็นแถวตอนเดียว ผู้เล่นแบ่งเป็นทีมชายหรือทีมหญิง ทีมละ  10 - 20 คนตามต้องการ
3.             เมื่อเริ่มเล่นให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจับเชือกไว้ทุกคนเป็นแถวตอนดึงเชือกให้ตึงพอประมาณ ให้ผ้าแดงที่ผูกไว้อย่างกึ่งกลางเชือกตรงกับเส้นแบ่งแดนพอดี
4.             เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้แต่ละฝ่ายออกแรงดึงเชือกเข้ามายังเขตแดนฝ่ายตน ฝ่ายใดดึงเชือกจนผ้าแดงที่ผูกเชือกฝ่ายตรงข้ามเข้ามายังเขตแดนตนได้จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายใดชนะ  2 ครั้ง ติดต่อกัน หรือ  2 ใน 3 ครั้ง จะเป็นผู้ชนะเด็ดขาด
กติกา
1.             ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องจับเชือกไว้หลังผ้าแดง ซึ่งอยู่ทางฝ่ายตนและยืนอยู่หลังเส้นเขตแดนของตน
2.             ขณะดึงห้ามส่วนใดของร่างกายถูกพื้น ยกเว้นเท้า
3.             ห้ามนำเชือกไปผูกไว้กับสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะการพันเอวและพันแขน
4.             ผู้ฝ่าฝืนกติกาจะถูกปรับแพ้
5.             กรรมการเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันและตัดสินผลการแข่งขัน คำตัดสินยุติ

3 ความคิดเห็น: