กีฬาไทยภูมิญญาไทย
มวยไทย
มวยไทย เป็นศิลปะป้องกันตัวของคนไทยมาแต่สมัยโบราณแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใดแต่จากวิถีชีวิตของคนไทยสันนิษฐานได้ว่ามวยไทยเกิดขึ้นมาคู่กับคนไทยเพราะในสมัยโบราณไม่มีอาวุธที่จะมาใช้ต่อสู้กับศัตรู จึงต้องใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธที่คนสยามเรียกว่ามวย คำว่ามวยหมายถึง “การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน” ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทยที่ฝึกควบคู่กับการฝึกกระบี่กระบอง สมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องเรียนมวยไทยควบคู่กับกระบี่กระบองเพื่อไว้ต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน มวยไทย เป็นกุศโลบายของคนไทยสมัยโบราณที่คิดค้นหาวิธีการมาผสมผสาน กลมกลืนให้เป็นลีลาท่าทางต่าง ๆ โดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ ได้แก่ มือสอง ศอกสอง เท้าสอง เข่าสอง และศีรษะหนึ่ง เรียกว่า “นวอาวุธทั้งเก้า”
จากหลักฐานหลักศิลาจารึกเขียนไว้ ในสมัยกรุงสุโขทัย สมเด็จพ่อขุนรามคำแหงได้ไปศึกษามวยและกระบี่กระบอง ที่เมืองสมอคอน ลพบุรี รวมถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงไปรำเรียนมวยไทยที่วัดเขาสมอคอน ลพบุรี ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มวยไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในสมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดปราณมวยไทยเป็นอย่างมากมักปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านออกไปเปรียบมวยชกกับชาวบ้านเป็นประจำและทรงเห็นว่าผู้ใดมีฝีมือดีก็จะนำเข้ามาเป็นทนายเลือกแม้แต่นายจ้อย หรือนายทองดี ฟันขาว ชาวบ้านแก่ง อุตรดิตถ์ ที่รำเรียนมวยไทยจากครูเที่ยง บ้านแก่ง และต่อมาครูเที่ยงนำนายจ้อยมาฝากตัวเป็นศิษย์ครูเมฆ แห่งสำนักมวยท่าเสา บ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ มีฝีมือด้านมวยไทยและชกชนะคู่ต่อสู้หลายคนต่อหน้าพระเจ้าตาก จนพระเจ้าตากนำเข้ามาเป็นทนายเลือกและต่อมาได้นำทัพเข้าตีเมืองพิชัย ที่พม่ายึดครองได้คืนจนดาบหัก พระเจ้าตากจึงแต่งตั้งให้นายทองดี ฟันขาว เป็น เจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ครองเมืองพิชัย นี้คือส่วนหนึ่งของความเป็นมาของมวยไทย ที่เป็นศิลปะป้องกันตัวของชาติไทย ที่เราควรรักและหวงแหน ศิลปะมวยไทย ไว้คู่ชาติไทย ต่อไป
ผู้เรียนมวยไทย ต้องมีความรู้และทักษะมวยไทยพื้นฐานก่อน เช่น การชกหมัดตรง หมัดเหวี่ยง หมัดเสย เตะตรง เตะเฉียง เตะตัด เตะเหวี่ยงกลับ เข่าตรง เข่าเฉียง เข่าโค้ง เข่าลอย ถีบตรงหน้า ถีบข้าง ถีบหลัง ศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ เมื่อผู้เรียนมีทักษะมวยไทยขั้นพื้นฐานแล้วจึงจะสามารถเรียนรู้ในเรื่องการใช้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยต่อไปได้ รวมถึงการเรียนรู้ในเรื่องคีตะมวยไทย เพราะทักษะมวยไทยขั้นพื้นฐานเป็นทักษะสำคัญที่ต้องนำมาใช้ผสมผสานกับลีลาท่าทางต่าง ๆ ของศิลปะแม่ไม้มวยไทย นอกจากนี้ ผู้เรียนยังต้องเรียนรู้ในเรื่องการไหว้ครูมวยไทย เพราะการไหว้ครูมวยไทย นั้น นอกจากเป็นการไหว้ครูเพื่อระลึกถึงคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายให้ปกปักรักษาตนแล้ว ยังใช้เป็นการแข่งขันไหว้ครูมวยไทยและแสดงโชว์ ในงานต่าง ๆ อีกด้วย
การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ที่ใช้ในการแข่งขันโดยทั่วไปมี 4 ท่าหลัก ดังนี้
1. ถวายบังคม
2. พรหมสี่หน้า (ใช้ได้ทั้งพรหมนั่งพรหมยืน)
3. ย่างสามขุม
4. ย่างสุขเกษม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น