กระบี่กระบอง
กระบี่กระบอง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่มีข้อมูลที่อ้างอิงได้จากราชนิพนธ์ และวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่อง เช่น อิเหนา ที่ปรากฏว่าตัวละครในเรื่องมีความสามารถด้านกระบี่กระบอง หลักฐานเกี่ยวกับกระบี่กระบองมาชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานกีฬาชนิดนี้มาก ถึงกับทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบอง
ในสมันรัชกาลที่ 5 กระบี่กระบองได้รับความนิยมอย่างสูง พระองค์ทรงโปรดให้มีการแข่งขันกระบี่กระบอง ฟันดาบ มวยไทย ต่อหน้าที่ประทับ
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง กระบี่กระบอง ได้รับการสนับสนุนเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทย มีการจัดแสดงครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2482 ที่ท้องสนามหลวง
กระบี่กระบอง ได้รับการบรรจุเข้าเป็นหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2479 โดยท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา จากนั้น กระบี่กระบองจึงได้เผยแพร่ในฐานะกีฬาไทยจนถึงปัจจุบัน
อุปกรณ์
1. สนาม เป็นพื้นที่ราบเรียบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร ไม่มีสิ่งกีดขวาง
2. เครื่องกระบี่กระบอง ประกอบด้วยอาวุธหลายชนิดที่มีลักษณ์แตกต่างกัน ได้แก่
กระบี่ เป็นอาวุธที่ใช้ทั้งฟันและแทง มีรูปร่างแบนยาวปลายแหลม มีด้ามจับ มีโกร่งสำหรับกันไม่ให้ถูกฟันมือที่ถือ และปลอกเก็บตัวกระบี่ มีชื่อท่า ลอยชาย ควงทัดหู เหน็บข้าง ตั้งศอก แหวกม่าน เชิงเทียน
ดาบ เป็นอาวุธสำหรับฟันแทง รูปร่างแบนและโค้งตอนปลายเล็กน้อย มีชื่อท่า ต่อด้าม เรียงหมอน ตัดหัวเทียน ส่องกล้อง สอดสร้อยมาลา ฯลฯ
ง้าว เป็นอาวุธที่ใช้ได้ทั้งฟันและแทง รูปร่างและประโยชน์คล้ายดาบ แต่สามารถต่อสู้ในระยะไกล มีชื่อท่า ทวนหน้า พับศอก พายเรือ ต่อข้อ ฉากพิฆาต วงเวียนวิบาก ฯลฯ
พลอง เป็นอาวุธสำหรับตี บางที่เรียกว่า สี่ศอก รูปร่างยาวเท่ากันตลอดไม่มีหัวท้าย มีชื่อท่า ทิ้งหลังวาดหน้า แนบกาย สลับฟันปลา ไต่ราวบน ลดล่อ ฯลฯ
ดั้ง ใช้ป้องกันการฟันแทง มีรูปร่างสี่เหลี่ยมยาวและโค้งคล้ายกาบกล้วย ประกอบด้วยดั้งกับมือถือมักใช้คู่กับดาบ
เขน เป็นเครื่องป้องกันอาวุธเช่นเดียวกับดั้ง รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ถืออยู่ด้านใน
โล่ เป็นเครื่องป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง รูปร่างกลมและนูนตรงกลางเหมือนก้นกระทะ มีห่วงและที่ถือด้านใน
ไม้สั้น เป็นเครื่องสวมกับแขนท่อนปลาย ใช้ต่อสู้กับพลอง
เครื่องแต่งกาย
1. เครื่องแต่งกายแบบนักรบไทยโบราณ
2. มงคล
3. ผ้าประเจียด
วิธีเล่น
1. ไหว้ครู ถวายบังคม พรหมสี่หน้านั่งและพรหมยืน
2. การเดินแปลง
3. การต่อสู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น