วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขาโถกเถกกีฬาไทย

ขาโถกเถก

                ขาโถกเถก  เป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นิยมเล่นกันมากในจังหวัด สกลนคร
ศรีสะเกษ  บุรีรัมย์  และนครราชสีมา  บางท้องถิ่นเรียกว่า เดินโถกเถก   คำว่า โถกเถก  หมายถึง ไม้ที่ต่อขาสำหรับเดิน
                กีฬาขาโถกเถก สันนิษฐานได้ว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านที่มีการเล่นกันมานานแล้ว โดยการเลียนแบบการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนภาคอีสาน ในสมัยโบราณคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ ไว้ใต้ถุนบ้าน ปะปนอยู่บนดินพอฝนตกก็เฉอะแฉะเป็นที่น่ารังเกียจ ประกอบกับบางครั้งจะมีสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมลงป่อง หรืองูพิษ ตามพื้นดิน คนไทยในสมัยโบราณจึงใช้ไม้ต่อขาสูง เพื่อใช้เดินผ่านไป ต่อมาจึงนำมาเล่นเป็นการละเล่นพื้นบ้านสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มักนิยมเล่นกันในหมู่เด็ก ผู้ใหญ่ ในงานเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ นิยมเล่นกันในเวลากลางคืนในฤดูหนาว
                อุปกรณ์
                ไม้ยาวมีกิ่งหรือขั้นสำหรับยืนได้
                วิธีเล่น
1.             สถานที่เล่นมีความยาว  10 เมตร
2.             การเล่นเป็นประเภทผลัด ทีมละ  9 คน
3.             ตีเส้นเริ่มต้น และเส้นชัย
4.             ให้ผู้เล่นแต่ละทีมยืนที่เส้นเริ่ม  5 คน ที่เส้นชัย  4 คน
5.             เมื่อสัญญาณเริ่ม คนแรกของทุกทีมขึ้นยืนบนง่ามไม้ด้วยเท้าทั้งสองข้าง มือจับไม้โถกเถก และทรงตัวให้ได้ พยายามเดินไปที่เส้นชัย แล้วเปลี่ยนให้คนที่ 2 ในทีมเดินต่อ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ  9 คน
กติกา
1.             ให้ผู้เล่นแต่ละคนขึ้นยืนบนไม้โถกเถกโดยไม่ตก
2.             ทีมใดเดินเข้าเส้นชัย โดยไม่ผิดกติกา และใช้เวลาน้อยที่สุด เป็นผู้ชนะ

*******************************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น