วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมัยสวนกุหลาบ

มวยไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
            มวยไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักเกณฑ์ในการจัดการแข่งขันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5  เป็นหลักเกณฑ์ที่หาหลักฐานมาอ้างอิงได้ยาก ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน กีฬามวยไทย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งพอจะแยกออกเป็นสมัย  5 สมัยด้วยกัน คือ

สมัยสวนกุหลาบ ปัจจุบันคือ สนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
            สมัยสวนกุหลาบ สนามมวยสวนกุหลาบ เมื่อแรกเริ่มนั้นให้นักมวยชกแข่งขันบนพื้นดิน ส่วนผู้ดูนั่งและยืนอยู่รอบบริเวณสังเวียน ซึ่งกว้างกว่า 20 เมตรมีการขีดเส้นกำหนดให้คนนั่ง ห้ามล้ำเข้าไปในเขตสังเวียน นักมวยคาดเชือกที่มือด้วยดานดิน สวมมงคล แม้ขณะชกก็สวมอยู่ มีผ้าประเจียดมัดไว้ที่ต้นแขนซ้ายและขวาสวมกางเกงขาสั้นมีผ้าพาดทับอย่างแน่นหนา และนิยมปล่อยชายผ้าให้ย่นออกมาจากขอบกางเกงด้านบนครึ่งเอว ไม่สวมเสื้อและปล่อยเท้าเปลือยเปล่า กรรมการแต่งกายด้วยผ้าม่วงนุ่งโจงกระเบน สวมถุงเท้าขาว เสื้อราชประแตน การแข่งขันชกมวยสมัยสวนกุหลาบ ระยะหลังนี้ มีการยกพื้นสนามมวยขึ้นสูง ประมาณ 4 ฟุต พื้นสนามมวยปูด้วยเสื่อจันทบูรหลายผืนเย็บติดกัน มีเชือกกั้นสนามมวย 2 เส้น มีเสาไม้เล็ก ๆ สูงประมาณ 1 เมตร ไว้ที่มุมของนักมวยทั้งสอง เพื่อให้นักมวยและพี่เลี้ยงขึ้นลงได้สะดวก มีกรรมการ ซึ่งเลียนแบบเสือป่าเต็มยศยืนอยู่บนสนามมวย มีวงปี่กลองบรรเลงอยู่ข้างล่างสนามมวย เมื่อถึงเวลาชกกรรมการได้เรียกนักมวยและพี่เลี้ยงของนักมวยทั้งสองฝ่ายมาชี้แจงกติกาการชก เมื่อตกลงกันแล้ว ผู้ตัดสินก็กล่าวสรุปมีใจความสำคัญว่า การแข่งขันเพื่อการชนะมีกำหนด 11 ยก ฝ่ายใดทำให้คู่ต่อสู้ล้ม ให้ไปคอยอยู่ที่มุมกลาง เมื่อได้ยินเสียงแยก ห้ามกัด ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้ คนใดไม่เชื่อฟังถือว่าผิดกติกา ซึ่งเป็นกติกาการแข่งขันชกมวยของสนามมวยสวนกุหลาบ ปี พ.ศ.2464 มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลาซึ่งใช้นาฬิกา 2 เรือน โดยตั้งเวลาตรงกัน เพราะถ้าใช้นาฬิกาเรือนเดียวจะเกิดปัญหาเมื่อนาฬิกาเกิดขัดข้องได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น