วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 3

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้
            1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
            2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
            3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
            4. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
            ประชากร             
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ ครู - อาจารย์ และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาของจังหวัดตาก ปีการศึกษา 2545 มีจำนวน 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ มีโรงเรียนจำนวน 20 โรงเรียน มีจำนวนประชากรทั้งหมด  8,099  คน

            การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาด        ของเครจซี่ และมอร์แกน ( Krejcie and Morgan อ้างถึงใน พวงรัตน์  ทวีรัตน์. 2543 : 303 ) กลุ่มตัวอย่างดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) โดยดำเนินการดังนี้
            1. นำรายชื่ออำเภอในจังหวัดทั้งหมดมาเรียงลำดับจากอำเภอที่มีจำนวนโรงเรียนมากไปหาจำนวน
โรงเรียนน้อย และคัดเลือกเอาอำเภอลำดับที่ 1 – 5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 โรงเรียน จากโรงเรียนทั้งหมด     16 โรงเรียน
            2. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากครู อาจารย์ของแต่ละโรงเรียนที่ถูกเลือก จำนวน 242 คน
            3. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของแต่ละโรงเรียนที่ถูกเลือก  จำนวน 366 คน จำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเพศชายจำนวน 61 คน และเพศหญิงจำนวน 61 คน  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเลือกเพศชายจำนวน 61 คน และเพศหญิงจำนวน 61 คน  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเลือกเพศชายจำนวน 61 คน และเพศหญิงจำนวน 61 คน



เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
            แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จากการศึกษาเอกสาร ตำรา บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวกับเนื้อหา
การวิจัย นำมาสร้างแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
            ตอนที่ 1  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจ
รายการ (Check list)
ตอนที่  2    เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น  เกี่ยวกับสภาพและความต้องการในการดำเนินการ
จัดโครงการกีฬาป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา  จังหวัดตาก มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณ
ค่า (Rating scale)ตามแบบของลิเคริท ( Likert’s scale)โดยตัดค่าปานกลางออก เนื่องจากป้องกันการลังเล      ในการตัดสินใจจึงเหลือเพียง 4 ระดับ คือ มากที่สุด มาก น้อย และน้อยที่สุด
            การกำหนดค่าระดับของความคิดเห็น  ซึ่งมีค่าดังนี้
                        4          หมายถึง             มากที่สุด
                        3          หมายถึง             มาก
                        2          หมายถึง             น้อย
                        1          หมายถึง             น้อยที่สุด
            การกำหนดค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความคิดเห็น
                        ค่าเฉลี่ย  3.50 – 4.00        หมายถึง             มากที่สุด
                        ค่าเฉลี่ย  2.50 – 3.49        หมายถึง             มาก
                        ค่าเฉลี่ย  1.50 – 2.49        หมายถึง             น้อย
                        ค่าเฉลี่ย  1.00 – 1.49        หมายถึง             น้อยที่สุด
            ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  และความต้องการพัฒนาการดำเนินการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนจังหวัดตาก มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามแบบของลิเคริท ( Likert’s scale)โดยตัดค่าปานกลางออก เนื่องจากป้องกันการลังเลในการตัดสินใจจึงเหลือเพียง  4 ระดับ คือ มากที่สุด มาก น้อย และน้อยที่สุด
            การกำหนดค่าระดับของความคิดเห็น  ซึ่งมีค่าดังนี้
                        4          หมายถึง             มากที่สุด
                        3          หมายถึง             มาก
                        2          หมายถึง             น้อย
                        1          หมายถึง             น้อยที่สุด
            การกำหนดค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความคิดเห็น
                        ค่าเฉลี่ย  3.50 – 4.00        หมายถึง             มากที่สุด
                        ค่าเฉลี่ย  2.50 – 3.49        หมายถึง             มาก
                        ค่าเฉลี่ย  1.50 – 2.49        หมายถึง             น้อย
                        ค่าเฉลี่ย  1.00 – 1.49        หมายถึง             น้อยที่สุด
                       
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
1.ศึกษาเอกสาร ตำรา บทความ  หลักการ  ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับเนื้อหาการจัด
โครงการกีฬาเพื่อป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา
          2. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามารวบรวมเรียบเรียงเพื่อกำหนดโครงสร้างของเครื่องมือ และสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดโครงการกีฬาเพื่อป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา
          3. นำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้ประธานคณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์และกรรมการควบคุม ตรวจแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข
            4. นำเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามพบผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์หาความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face Validity)
5. นำแบบสอบถามมาปรับปรุงตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ และนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ตรวจอีกครั้งหนึ่ง
6. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ (Try out) กับครู-อาจารย์และนักเรียน  จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน รวมจำนวนทั้งหมด 60 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และนำผลการทดลองใช้เครื่องมือไปคำนวณ หาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability ) โดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ( a - Coefficient ) ของ ครอนบัค ( Cronbach )   ได้ค่าความเชื่อมั่น .97
7. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ไปใช้ในการศึกษาวิจัย

วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ โครงการร่วมมือทางวิชาการมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ถึงผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดตากเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล
2. ผู้วิจัยทำหนังสือนำเพื่อแนะนำตัวผู้วิจัย ชี้แจงวัตถุประสงค์ ประโยชน์วิธีการตอบการเก็บแบบสอบ
ถามคืน
3. ขอหนังสือจากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดตาก ถึง สถานศึกษาในทุกอำเภอที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
4. เดินทางเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยครู-อาจารย์เก็บข้อมูลวันประชุมใหญ่ที่จังหวัด นักเรียนขอดำเนินการ
เก็บข้อมูลในคาบเรียนด้วยตนเองพร้อมอาจารย์ผู้สอนในคาบที่ได้รับอนุญาต แล้วนำแบบสอบถามมาตรวจความสมบูรณ์  ความถูกต้อง  เพื่อนำไปดำเนินการวิเคราะห์







วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
          ตรวจแบบสอบถาม  แล้วนำมาแยกออกตามตัวแปรที่จะต้องการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรม  SPSS (Statistical package for Social Sciences versions10.0.07)
          2.1 แบบสอบถามตอนที่ 1  เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบหาค่าร้อยละ
2.2 แบบสอบถามตอนที่ 2  ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการในการดำเนินการ
จัดโครงการกีฬาป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดตาก มาแจกแจงความถี่หาคำตอบแต่ละข้อ     จัดลำดับ  แล้วหาค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าคะแนนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 
2.3 เปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการในการดำเนินการจัดโครงการกีฬาป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดตากระหว่าง ครู-อาจารย์กับนักเรียนโดยใช้ t –test

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น