คำนำ
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่คิดค้นหาวิธีการแล้วนำมาเป็นกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อให้เด็ก และผู้ใหญ่ในหมู่บ้านได้เล่น เพื่อสร้างความสนุกสนาน รื่นเริง และความสามัคคีในหมู่คณะ กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย เป็นภูมิปัญญาของคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยโบราณซึ่งนับวันจะถูกลืมเลือน ผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ จึงได้ศึกษาค้นคว้า เรียบเรียง เพื่อให้ครู นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้ความสามารถในการเล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย เพื่อนำไปเป็นกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีการออกกำลังกายเป็นประจำทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยใช้กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ภูมิปัญญาไทย ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้าน เป็นสื่อ ทั้งยัง สืบสาน อนุรักษ์ เผยแพร่ กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทยให้คงอยู่ สืบต่อไป
ฝ่ายทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ภูมิปัญญาไทย เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าและช่วยเผยแพร่ ไปสู่ทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
จ่าสิบเอก
(ภราดร สังกรแก้ว)
ครู คศ. 2
สารบัญ
หน้า
คำนำ
คุณค่าของกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทยภูมิปัญญาไทย 1
กีฬาไทยภูมิปัญญาไทย 3
มวยไทย 3
คีตะมวยไทย 5
กระบี่กระบอง 7
ว่าว 9
ตะกร้อเตะทน 11
หมากรุก 12
กีฬาพื้นบ้านไทย 14
ชักคะเย่อ 14
ม้าศึก 15
กระโดดเชือกหมู่ 16 วิ่งตะขาบหรือวิ่งเรือบก 17 วิ่งชิงธงหรือวิ่งวัวคน 18 วิ่งช้างศึก 19 วิ่งสามขา 20
มอญซ้อนผ้า 21
ตี่จับ 22
งูกินหาง 24
ขาโถกเถก 25พรมวิเศษ 26
วิ่งผลัดตะข้อง 27
วิ่งม้าชาวเสียม 28
อุ้มขุนนางข้ามฝาก 29
สารบัญต่อ
หน้า
วิ่งกระสอบ 30
วิ่งตีขอบกระด้ง 31
ลูกช่วง 32หนังสืออ้างอิง 33
คุณค่าของกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทยภูมิปัญญาไทย
กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ภูมิปัญญาของคนไทย มีความสำคัญในการพัฒนาการของเด็ก เยาวชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมของเด็ก และเยาวชน ส่วนใหญ่ คือการละเล่น การละเล่น เป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็ก และเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทั้งยังได้ออกกำลังกายเป็นประจำทำให้เด็ก และเยาวชนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจดีงาม รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รัก สามัคคี มีจิตใจเบิกบาน มีการพัฒนาด้านสมอง ความคิดอ่าน ความคล่องแคล่ว ว่องไว ตลอดจนมีสรรถภาพทางกายและทางอารมณ์ สุขุม เยือกเย็น มั่นคงยิ่งขึ้น กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ภูมิปัญญาไทย เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินวิถีชีวิตของเด็ก และเยาวชนไทยมาตั้งแต่โบราณเป็นกิจกรรมที่เกิดจากบริบทของคนไทย ตามสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ไสยศาสตร์ โดยใช้ความคิด ริเริ่ม หากุศโลบายและพัฒนา มาเป็นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นกิจกรรมการละเล่นของชาวบ้านในสมัยโบราณหลังจากการทำมาหากินทั้งวัน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดหลังจากการทำงานทั้งยังได้พบปะสังสรรค์พวกพ้องในหมู่บ้านสร้างความคุ้นเคย ความรักสามัคคีในหมู่คณะ
คุณค่าของกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย
กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทยเป็นการละเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณที่เล็งเห็นความสำคัญของกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ในการพัฒนาเด็ก และเยาวชนทั้งยังสร้างความสนุกสนานให้กับหมู่คณะ การละเล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทยจึงแบ่งคุณค่าได้ 5 ประการ ดังนี้
คุณค่าทางร่างกาย
คุณค่าทางร่างกาย ผู้ที่เล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้าน ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทำให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และยังสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
คุณค่าทางจิตใจ และสติปัญญา
คุณค่าทางจิตใจ และสติปัญญา ผู้เล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย เป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านจิตใจได้เป็นอย่างดี มีจิตใจเข้มแข็ง สุขุม เยือกเย็น มีความอดทน อดกลั้น มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีความสามัคคีในหมู่คณะ นอกจากนี้จะยังช่วยให้ผู้เล่นกีฬาพื้นบ้านไทยได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้จิตใจ อารมณ์ร่าเริง แจ่มใส นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาด้านสมองของผู้เล่นทำให้เกิดความคิด หากุศโลบายที่จะได้รับชัยชนะจากการแข่งขันอีกด้วย
2
คุณค่าทางด้านคุณธรรม
คุณค่าทางด้านคุณธรรม การเล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย จะช่วยเสริมสร้างในด้านคุณธรรมให้กับผู้เล่นอย่างดียิ่ง จากกติกาการแข็งขันกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย ทำให้ผู้เล่นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดช่วยขัดเกลาจิตใจ อารมณ์และยังได้มีการพัฒนาให้มีคุณธรรม และปรัชญาของกีฬาชนิดนั้น ๆ ด้วย
คุณค่าทางสังคม
คุณค่าทางสังคม กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ที่คิดค้น หากุศโลบาย วิธีการต่าง ๆ ออกมาเป็นเกม หรือกิจกรรมแล้วนำมาให้เด็ก เยาวชน และชาวบ้านได้เล่นกันในหมู่บ้าน ในงานเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ รวมถึงเล่นเพื่อผ่อนคลายหลังจากการทำงานมาทั้งวัน จึงถือได้ว่ากีฬาพื้นบ้านไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ค่านิยม ไสยศาสตร์ ความเชื่อ ของคนไทย ดังที่
จอมพลเรือ หลวงยุทธ ศาสตร์โกศล นายกสมาคมกีฬาไทย ฯ คนที่ 6 ได้กล่าวถึงกีฬาไทยเมื่อ พ.ศ.2504 ไว้ดังนี้
“ อันกีฬานั้น ย่อมเป็นที่รับกันได้โดยทั่วไป แล้วว่าเป็นเครื่องสร้างสรรค์ และส่งเสริม คุณธรรม และสามัคคีธรรมของประชากรทั่วโลกอย่างดียิ่ง เหตุนี้ ชาติต่าง ๆ ที่เจริญแล้ว จึงต่างพยายาม ปรับปรุง และส่งเสริมกีฬาประจำชาติของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยความมุ่งหมายที่จะนำออกเผยแพร่แก่ชาวโลก เพื่อเป็นการเชิดชูชาติของตนเอง เพราะกีฬาเป็นศิลปะประจำชาติส่วนหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรม และอารยธรรมของชาติโดยแท้ ชาติไทยเราก็มีกีฬาประจำชาติอยู่มากหลาย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่แปลกที่น่าดู น่าสนใจ และน่าจะออกเผยแพร่แก่ชาวโลก อันจะนำมาซึ่งชื่อเสียงเกียรติคุณให้แก่ประเทศชาติ ”
กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านไทย จึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของไทย ที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับสังคมที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจ และช่วยกัน อนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ ให้เป็นสมบัติของชาติไทย สืบไป
กีฬาไทยภูมิญญาไทย
มวยไทย
มวยไทย เป็นศิลปะป้องกันตัวของคนไทยมาแต่สมัยโบราณแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใดแต่จากวิถีชีวิตของคนไทยสันนิษฐานได้ว่ามวยไทยเกิดขึ้นมาคู่กับคนไทยเพราะในสมัยโบราณไม่มีอาวุธที่จะมาใช้ต่อสู้กับศัตรู จึงต้องใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธที่คนสยามเรียกว่ามวย คำว่ามวยหมายถึง “การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน” ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทยที่ฝึกควบคู่กับการฝึกกระบี่กระบอง สมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องเรียนมวยไทยควบคู่กับกระบี่กระบองเพื่อไว้ต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน มวยไทย เป็นกุศโลบายของคนไทยสมัยโบราณที่คิดค้นหาวิธีการมาผสมผสาน กลมกลืนให้เป็นลีลาท่าทางต่าง ๆ โดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ ได้แก่ มือสอง ศอกสอง เท้าสอง เข่าสอง และศีรษะหนึ่ง เรียกว่า “นวอาวุธทั้งเก้า”
จากหลักฐานหลักศิลาจารึกเขียนไว้ ในสมัยกรุงสุโขทัย สมเด็จพ่อขุนรามคำแหงได้ไปศึกษามวยและกระบี่กระบอง ที่เมืองสมอคอน ลพบุรี รวมถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงไปรำเรียนมวยไทยที่วัดเขาสมอคอน ลพบุรี ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มวยไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในสมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดปราณมวยไทยเป็นอย่างมากมักปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านออกไปเปรียบมวยชกกับชาวบ้านเป็นประจำและทรงเห็นว่าผู้ใดมีฝีมือดีก็จะนำเข้ามาเป็นทนายเลือกแม้แต่นายจ้อย หรือนายทองดี ฟันขาว ชาวบ้านแก่ง อุตรดิตถ์ ที่รำเรียนมวยไทยจากครูเที่ยง บ้านแก่ง และต่อมาครูเที่ยงนำนายจ้อยมาฝากตัวเป็นศิษย์ครูเมฆ แห่งสำนักมวยท่าเสา บ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ มีฝีมือด้านมวยไทยและชกชนะคู่ต่อสู้หลายคนต่อหน้าพระเจ้าตาก จนพระเจ้าตากนำเข้ามาเป็นทนายเลือกและต่อมาได้นำทัพเข้าตีเมืองพิชัย ที่พม่ายึดครองได้คืนจนดาบหัก พระเจ้าตากจึงแต่งตั้งให้นายทองดี ฟันขาว เป็น เจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ครองเมืองพิชัย นี้คือส่วนหนึ่งของความเป็นมาของมวยไทย ที่เป็นศิลปะป้องกันตัวของชาติไทย ที่เราควรรักและหวงแหน ศิลปะมวยไทย ไว้คู่ชาติไทย ต่อไป
ผู้เรียนมวยไทย ต้องมีความรู้และทักษะมวยไทยพื้นฐานก่อน เช่น การชกหมัดตรง หมัดเหวี่ยง หมัดเสย เตะตรง เตะเฉียง เตะตัด เตะเหวี่ยงกลับ เข่าตรง เข่าเฉียง เข่าโค้ง เข่าลอย ถีบตรงหน้า ถีบข้าง ถีบหลัง ศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ เมื่อผู้เรียนมีทักษะมวยไทยขั้นพื้นฐานแล้วจึงจะสามารถเรียนรู้ในเรื่องการใช้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยต่อไปได้ รวมถึงการเรียนรู้ในเรื่องคีตะมวยไทย เพราะทักษะมวยไทยขั้นพื้นฐานเป็นทักษะสำคัญที่ต้องนำมาใช้ผสมผสานกับลีลาท่าทางต่าง ๆ ของศิลปะแม่ไม้มวยไทย นอกจากนี้ ผู้เรียนยังต้องเรียนรู้ในเรื่องการไหว้ครูมวยไทย เพราะการไหว้ครูมวยไทย นั้น นอกจากเป็นการไหว้ครูเพื่อระลึกถึงคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายให้ปกปักรักษาตนแล้ว ยังใช้เป็นการแข่งขันไหว้ครูมวยไทยและแสดงโชว์ ในงานต่าง ๆ อีกด้วย
4
การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย ที่ใช้ในการแข่งขันโดยทั่วไปมี 4 ท่าหลัก ดังนี้
1. ถวายบังคม
2. พรหมสี่หน้า (ใช้ได้ทั้งพรหมนั่งพรหมยืน)
3. ย่างสามขุม
4. ย่างสุขเกษม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น