วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรีรวิทยาการกีฬา 2

ระบบประสาท Nervous System
      เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด
ระบบประสาทอาจเรียกว่าระบบข่ายประสานงาน เป็นระบบที่ซับซ้อนที่สุด









ระบบประสาทแบ่งได้ตามตำแหน่งมี 2 พวก
      1. ระบบประสาทกลาง Central Nervous System = CNS  ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
      2. ระบบประสาทรอบนอก Peripheral Nervous System = PNS  ได้แก่ เส้นประสาท ที่แยกออกมาจากสมองและไขสันหลัง รวมถึงปมประสาท  ที่อยู่นอก  CNS







ระบบประสาท แบ่งตามหน้าที่การทำงานได้        2 ชนิด
      1. ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
      2. ระบบประสาทอัตโนมัติ Autonomic Nervous System = ANS  หมายถึง เส้นประสาทที่ทำงานได้เองโดยอยู่นอกอำนาจจิตใจ แบ่งย่อยออกเป็น  2 พวก
           2.1 ประสาทซิมพาเทติก Sympathetic  Nerve  ทำหน้าที่ขณะตื่นตกใจ กลัว โกรธ หรือเกิดการต่อสู้
           2.2 ประสาทพาราซิมพาเทติก Para Sympathetic  Nerve ทำหน้าที่ตรงข้ามกับประสาทซิมพาเทติก
      เส้นใยประสาท ที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นใยกล้ามเนื้อหนึ่งเส้นหรือหลายเส้นเรียกว่า หน่วยสั่งการ Motor  unit มีการกระตุ้นที่เส้นใยประสาท ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัว

      ปลายประสาทที่รับความรู้สึกของกล้ามเนื้อเป็นส่วนหนึ่งของประสาทรับรู้ของร่างกาย
-              ปลายประสาทที่รับสัมผัส เรียกว่า มิสสเนอร์ คอร์พัสเซิล
-                ปลายประสาทที่รับแรงกด เรียกว่า แพซิเนียน คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความหนาวเย็น เรียกว่า เคราส์ คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความร้อนหรือความอบอุ่น เรียกว่า รัฟฟินิ คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความเจ็บปวด เรียกว่า ฟรี เนิฟ เอนดิง

โปรปริโอเซปเตอร์  Proprioceptor
เป็นปลายประสาทที่ทำหน้าที่รายงานเกี่ยวกับตำแหน่ง ลักษณะของร่างกาย เช่น การก้ม การเงย นอนตะแคง
      ปลายประสาทพวกนี้ได้แก่ ส่วนของอวัยวะที่ทำหน้าที่ทรงตัวในหู รวมทั้งปลายประสาทที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เพื่อรายงานเกี่ยวกับความตึงตัว การคลายตัวของกล้ามเนื้อ ความตึงของเอ็น

การทำงานของระบบประสาท
แบ่งได้  2 ระบบ
1.        ระบบประสาทที่ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ
2.        ระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ










การควบคุมการสั่งการของระบบประสาท
      1. ซีรีบรัล คอร์เทกซ์  ควบคุมการกระตุ้นและยับยั้งในส่วนที่อยู่ต่ำกว่า
      2. ไฮโพทาลามัส
           - ควบคุมอุณภูมิของร่างกาย
           - ควบคุมระบบอัตโนมัติ
           - ควบคุมการขับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
           - ผลิตฮอร์โมนออกซิโทซิน และ ADH
           - ประสานการทำงานเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น การกิน การโกรธ
      3. สมองส่วนกลาง ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของรูม่านตาและเลนส์

      4. ก้านสมอง
           - ควบคุมระบบไหลเวียนของเลือด
           - ควบคุมการหายใจ
           - เป็นศูนย์ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของการกลืน การอาเจียน การขับน้ำลาย และน้ำย่อย









      5. ไขสันหลัง เป็นศูนย์ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันเกี่ยวกับ
           - ควบคุมการหดและการขยายตัวของหลอดเลือดที่ไปสู่ผิวหนัง
           - ควบคุมการขับเหงื่อจากต่อมเหงื่อ
           - ควบคุมกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ตรง
           - ควบคุมการแข็งตัวของลึงค์และปุ่มกระสัน
           - ควบคุมการฉีดน้ำกาม
           - ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของเยื่อบุช่องท้อง




การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความทนทานและความยืดหยุ่นตัว
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
      หมายถึง กำลังสูงสุดที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งปล่อยออกมาเพื่อต่อต้านแรงต้านทาน
กล้ามเนื้อมีการหดตัว  2 แบบ
1.       แบบไอโซเมตริก
2.       แบบไอโซทอนิก

1.        ความเข้มของการฝึก
2.        ระยะเวลาในการฝึกและความต่อเนื่อง
3. ลักษณะของร่างกาย
                                             

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1.        การเรียงตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ
2.        ความเมื่อยล้า
3.        อุณหภูมิ
4.        ปริมาณของสารอาหาร
5.        ระดับการฝึก
6.        การพักผ่อน







การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอันเป็นผลจากการเพิ่มความแข็งแรง
  ไฮเพอร์โทรฟี  Hypertrophy
  การขยายขนาดของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการกำหนดการฝึกน้ำหนักทำให้พื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่า           ไฮเพอร์โทรฟี







ไฮเพอร์โทรฟี Hypertrophy
           จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.            เพิ่มจำนวนและขนาดของไมโอไฟบริล ในเส้นใยกล้ามเนื้อ
2.            เพิ่มจำนวนโปรตีนที่ใช้ในการหดตัวโดยเฉพาะไมโอซิน
3.            เพิ่มความหนาแน่นของหลอดเลือดฝอยต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ
4.            เพิ่มจำนวนและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เอ็นกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
5.            เพิ่มจำนวนของเส้นใยอันเป็นผลจากการแยกตัวของเส้นใยที่เรียงตัวตากยาว


การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและองค์ประกอบของเส้นใยกล้ามเนื้อ

1.        เพิ่มความเข้มข้นของสารประกอบทางเคมี ได้แก่ ครีเอทิน 39 % ฟอสโฟครีเอทิน 22 % เอทีพี  18 % โกลโคเจน 66 %
2.        เพิ่มหรืออาจไม่เพิ่มเอนไซม์ ในกระบวนการสลายกลูโคส
3.        เล็กน้อยหรือไม่เปลี่ยนแปลงเอนไซม์สำหรับการเปลี่ยนกลับของ เอทีพี เช่น ไมโอคิเนส ครีเอทิน ฟอสโฟคิเนส


4.        เล็กน้อยแต่สำคัญในการเพิ่มการใช้ออกซิเจน กิจกรรมเอนไซม์ในวัฎจักรเครบส์ เช่น มาเลต ดีไฮโตรจิเนส Malate dehydrogenase                ซักซินิก ดีไฮโตรจิเนส Succinic dehydrogenase
5.        ไม่มีการเปลี่ยนกลับไปมา ระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อขาวและแดง
6.        ลดปริมาณ (ความหนาแน่น) ของ ไมโทรคอนเตรีย และ ซาร์โคพลาสมิก ด้วย
7.        ไฮเพอร์โทรฟี เป็นการเพิ่มพื้นที่ของเส้นใยกล้ามเนื้อขาวและแดงให้มากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น