วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรีรวิทยาการกีฬา 3

การระบมของกล้ามเนื้อ Muscular Soreness
           แบ่งออกเป็น  2  แบบ
      1. การระบมแบบเฉียบพลัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย หรือเกิดขึ้นในทันทีทันใดภายหลังการออกกำลังกาย
           สาเหตุ
1.        การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อระหว่างหดตัว
2.        ภาวะขาดเลือด
3.        การเจ็บปวดจะมีต่อไปจนกว่าความรุนแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงหรือหยุด        หดตัว



2. การระบมที่เกิดขึ้นภายหลัง
     2.1 ทฤษฎีเนื้อเยื่อขาด เนื่องจากเนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด
     2.2 ทฤษฎีการเกร็ง มี  3  ประการ
           2.2.1 การออกกำลังกายทำให้เกิดภาวะขาดเลือดในกล้ามเนื้อที่ทำงาน
           2.2.2 ภาวะขาดเลือดจะนำสาร P ไปกระตุ้นปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
     2.3 ทฤษฎีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
           เนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมทั้งเอ็นเกิดความเสียหายระหว่างที่กล้ามเนื้อหดตัว จึงเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อระบม


ความทนทาน
      ความทนทาน หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทำงานที่มีความเข้มต่ำหรือปานกลางได้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่เหน็ดเหนี่อยง่าย ความทนทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.        ความทนทานของกล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกาย ความแข็งแรงและความทนทานมักจะแปรผันตามกัน คือหากร่างกายมีความแข็งแรง ความทนทาน       ก็จะตากมา
2.        ความทนทานของระบบไหลเวียน หายใจ
      การออกกำลังกาย นอกจากเกิดความแข็งแรงแล้วยังทำให้เกิดความทนทาน ในการฝึกความทนทานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

                                                กล้ามเนื้อหัวใจขยายใหญ่ขึ้น
                                                ปริมาณเลือดที่ฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายครั้งหนึ่ง ๆ มีมากขึ้น
                                                อัตราการเต้นของหัวใจไม่สูงในการออกกำลังกายที่มีความเข้มเท่ากัน เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับการฝึก
                                                ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ              มีประสิทธิภาพในการหดตัวสูงขึ้น อันเป็นผลให้การหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปได้มาก หรือส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาได้มาก
                                                หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และปริมาณของหลอดเลือดฝอยในกล้ามเนื้อก็มีมากขึ้น
                                                เมื่อระบบไหลเวียนดีขึ้น ทำให้การขนส่งเชื้อเพลิงประเภทไขมันอิสระเพื่อนำไปสร้างพลังงานแบบใช้ออกซิเจนดำเนินไปด้วยดี การขนส่งของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมเทบอลิซึม มีประสิทธิภาพขึ้น อันส่งผลไปสู่ความทนทาน








ความยืดหยุ่น
Flexibilily
            ความยืดหยุ่น  หมายถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ทั้งในขณะอยู่นิ่ง และเคลื่อนไหว

            โครงสร้างความยืดหยุ่นตัว ประกอบด้วยกระดูกอย่างน้อย  2 ชิ้น กล้ามเนื้อ  เอ็นยึดข้อต่อ รวมทั้งผิวหนัง





การพัฒนาความยืดหยุ่น
            ก้มแตะ  จากท่าตรง ก้มตัวเอามือแตะพื้น เข่าตึง
            นั่งแตะปลายเท้า  นั่งเหยียดขา แยกเท้า ขาตึง ก้มเอามือทั้งสองแตะปลายเท้า
            เหยียดหน้าอก  นอนคว่ำกางแขน ลำตัวเหยียดตรง ยกลำตัวท่อนบนให้สูงจากพื้น
            พับเอวก้มตัว  ยืนเท้าแยกมือเท้าเอว ก้มตัวให้ขนานกับพื้น เงยหน้า ส่ายลำตัวท่อนบนไปมา






การระบายอากาศขณะพักผ่อน
            ในสภาพปกติ  ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้า  ประมาณ  400 600 มิลลิลิตร
            ความถี่ของการหายใจต่อนาที ประมาณ 10 25 ครั้งต่อนาที


การระบายอากาศของถุงลม
            การระบายอากาศของถุงลม หมายถึง ปริมาณของอากาศที่เข้าไปอยู่ในถุงลมของปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ (O และ CO)  ในเลือดที่ผ่านมาในถุงลมในปอด
                                                                                                                    2                                                      2

                            

อึดใจที่สอง    Second  Wind
            เป็นปรากฏการที่พบบ่อย ๆ จากการออกกำลังกายที่ใช้เวลานาน ๆ เป็นกำลังที่เพิ่มขึ้นครั้งที่สอง ภายหลังที่เหนื่อยไปหนหนึ่งแล้ว ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอึดใจที่สอง อาการเช่นนี้เกิดขึ้นในระยะแรกของการออกกำลังกาย ได้แก่ อาการอึดอัด ปวดเมื่อย หายใจไม่ค่อยทัน แต่พออกกำลังกายไประยะหนึ่งความสะดวกสบายก็จะเกิดขึ้นในช่วงเวลา  2 18 นาที ในการวิ่งที่ใช้เวลา  20 นาที





            สาเหตุ     ดร.เชฟาร์ด มหาวิทยาลัยโตรอนโต สหรัฐอเมริกา สรุปไว้ว่า
            1. การปลดปล่อยภาวะหายใจขัด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการออกกำลังกาย
            2. การทำลายกรดแล็กติกที่สะสมตั้งแต่เริ่มต้นการออกกำลังกาย เพราะเลือดที่ไหลไปสู่กล้ามเนื้อต้องปรับตัวให้ไหลเร็วขึ้น
            3. การอบอุ่นร่างกายที่เพียงพอ
            4. การปลดเปลื้องความเครียดของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ
            5. องค์ประกอบทางจิตวิทยา เช่น ความรู้สึกไม่พร้อม หรือกลัวจะเจ็บปวดกล้ามเนื้อ


กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
Ventilatory Muscles
            กล้ามเนื้อหลักที่ใช้ในการหายใจมีสองมัดคือ
1.        กล้ามเนื้อกะบังลม
2.        กล้ามเนื้อซี่โครง
      กล้ามเนื้อกะบังลม เป็นกล้ามเนื้อหลักในการหายใจเข้าตั้งอยู่ที่ฐานของปอดและก้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง เมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครง จะหดตัว เมื่อหายใจออกกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อซี่โครง จะคลายตัว 
       



จากการวิจัยการสูบบุหรี่
จะได้รับสารเข้าร่างกาย
      1. นิโคติน  ประมาณ  95 เปอร์เซ็นต์ ของนิโคตินจะไปสะสมที่ปอด และซึมเข้าสู่กระแสเลือด เกิดความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดบีบตัว และเพิ่มไขมันในหลอดเลือด
      2. ทาร์ ประมาณ  50 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ที่ปอด เกิดความระคายเคืองต่อหลอดลมและเนื้อปอด เกิดการไอหรือหอบเหนื่อย
      3. คาร์บอนไดออกไซด์ จะอยู่ในกระแสเลือด ทำให้หมดกำลัง ช่วงการหายใจสั้น ถ้ามีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ อาจถึงตาย
      4. ไฮโดรไซยาไนด์  ทำให้ทางเดินหายในระคายเคือง เกิดการไอ มีเสมหะมาก หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
     
      5. ไนโตรเจนไดออกไซด์  เป็นต้นเหตุให้ผนังถุงลมโป่งพอง
      6. แอมโมเนีย  ทำให้หลอดลมอักเสบ
      7. สารกัมมันตภาพรังสี  เกิดจากการบ่มใบยา เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง จะพบสารนี้ในปัสสาวะมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น