ไมโอไฟบริล (Myofibrils)
เป็นเส้นใยโปรตีนที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ เป็นแถบสีจางสลับสีทึบจัดเรียงตัวตลอดแนวเส้นใย
แถบสีจางเรียกว่า แถบไอ (I-bands) มีเส้นผ่ากลางเรียกว่า เส้น-แซด (Z-line)
แถบสีทึบเรียกว่า แถบเอ (A-Bands) มีแถบจาง ๆ ผ่ากลางเรียกว่า เขต-เอซ (H-zone)
สายโปรตีน (The Protein Filaments)
ที่แถบไอ และแถบเอ จะประกอบด้วยสายโปรตีนบางเรียกว่าแอกทิน (Actin) มีประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์
สายโปรตีนหนาเรียกว่า ไมโอซิล (Myosin) มีประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์
ใยกล้ามเนื้อเล็ก ๆ อันหนึ่งจะมี แอกทิน และ ไมโอซิน ประมาณ 500-2,500 อัน ความยาวของไมโอไฟบริล โดยวัดจากเส้นแซดถัดไปเรียกว่า ซาร์โคเมียร์ (Sacomere)
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลายในร่างกาย จะทำงานได้ต้องได้รับคำสั่งจากสมอง โดยสมองจะส่งกระแสประสาทเป็นทอด ๆ จนกระทั่งเข้าสู่มัดกล้ามเนื้อ
กระแสประสาท เป็นปฎิกิริยาทางไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นที่ปลายแอกซอนจะมีการขับสารเคมีออกมาคืออะซิทิลโคลีน (Acetylcholion) ก่อให้เกิดประจุไฟฟ้าโดยผ่านจุดประสานระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อจะเกิดดีโพราไรเซชัน (Depolalization)เกิดที่เยื้อหุ้มเซลล์กล้ามเนื้อ แอล-ทูบุล ซึ่งประสานเป็นร่างแหอยู่ เมื่อถูกกระแสประสาทกระตุ้น จะปล่อยแคลเซียมไอออน ใน ซาร์โคพลาซึม และจะทำปฎิกิริยา กับไมโอซินทันทีเป็น ไมโอซินปลุกฤทธิ์
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
1. ขณะพักผ่อน
1.1 สะพานไขว้ เอทีพี กางออก
1.2 แอกทินและไมโอซิน แยกกันอยู่
1.3 แคลเซียมไอออน ถูกเก็บใน แลเทอรัลแซก ที่ ซาร์โคพลาสมิก เรติคูลัม
2. กล้ามเนื้อได้รับการกระตุ้น (Xcitation -coupling)
2.1 เกิดกระแสประสาท
2.2 แคลเซียมไอออน ออกจากถุง
2.3 แคลเซียมไอออน รวมกับ โทรไพนิน กลับไปสู่ แอกทิน
2.4 สะพานไขว้ เอทีพี เริ่มทำงาน
2.5 แอกทิน จับกับ ไมโอซิน เป็น แอกโทไมซิน (Actomysin)
3. การหดตัว (Contraction)
3.2 พลังงานถูกปลดปล่อย ทำให้ สะพานไขว้โบกไปมา
3.3 แรงดึงตัว (Tension) สูงขึ้น
4. การเติมพลังงานภายหลังการหดตัว
(Recharging)
4.2 แอกโทไมโอซิน ถูกแยกออกเป็นแอกทินและไมโอซิน เพื่อเตรียมรวมกันใหม่
4.3 สะพานไขว้หยุดโบกไปมา
5. การหดตัว (Relaxction)
5.1 กระแสประสาทหยุดการกระตุ้น
5.2 แคลเซียมไออนถูกฉีดกลับที่เก่า โดยเครื่องสูบฉีดแคลเซียม (Calcium pump)
5.3 กล้ามเนื้อคลายตัวคืนสู่สภาพพักผ่อนปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น