วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรีรวิทยาการกีฬา 5

องค์ประกอบของกล้ามเนื้อ
      กล้ามเนื้อลายมีประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์            ของน้ำหนักตัวในกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง ๆ จะมีองค์ประกอบดังนี้
      1. น้ำ ประมาณ  75 เปอร์เซ็นต์ ของมวลกล้ามเนื้อ
      2. โปรตีน ประมาณ  20 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่
ไมโอซิน  50-55 % แอกทิน 20-25 % โทรโพไมโอซิน และ โทรโพนิน  10-15 % ไมโอโกลบิน โกลบูลิน-เอกซ์ (Globulin-x) และไมโอเจน (Myogen) อีกจำนวนเล็กน้อย



     
      3. สารประเภทอื่น ๆ
           3.1 คาร์โบไฮเดรต ประมาณ  0.5-1.5 เปอร์เซ็นต์ เช่น กลูโคส  ไกลโคเจน
           3.2 ไขมัน ประมาณ  1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่เนื้อเยื้อเกี่ยวพันในรูปแบบไขมันที่เป็นกลาง และอยู่ที่เส้นใยกล้ามเนื้อในรูปคอเลสเทอรอล และ             ฟอสโฟลิพิด
           3.3 สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ เช่น ATP  ADP  PC
           3.4 สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเสีย เช่น กรดแล็กติก
           3.5 สารสี (Pigment)
           3.6 เอนไซม์ เช่น โคลีนเอสเตอเรส
           3.7 แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม
          
คุณสมบัติทางกายภาพของกล้ามเนื้อ
1.        กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น สามารถหดตัวได้
2.        กล้ามเนื้อจะยืดหยุ่นได้ดี ภายหลังจากที่ได้ยืดหยุ่นก่อน 2-3 ครั้งแล้ว
3.        กล้ามเนื้อที่หดตัวอยู่ จะมีคุณภาพดีกว่ากล้ามเนื้อที่คลายตัวอยู่
4.        เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ สามารถทนทานต่อแรง
ที่มากระทำได้ประมาณ  2.6-12.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร


ระบบประสาท Nervous System
      เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด
ระบบประสาทอาจเรียกว่าระบบข่ายประสานงาน เป็นระบบที่ซับซ้อนที่สุด









ระบบประสาทแบ่งได้ตามตำแหน่งมี 2 พวก
      1. ระบบประสาทกลาง Central Nervous System = CNS  ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
      2. ระบบประสาทรอบนอก Peripheral Nervous System = PNS  ได้แก่ เส้นประสาท ที่แยกออกมาจากสมองและไขสันหลัง รวมถึงปมประสาท  ที่อยู่นอก  CNS







ระบบประสาท แบ่งตามหน้าที่การทำงานได้        2 ชนิด
      1. ระบบประสาทกลาง ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
      2. ระบบประสาทอัตโนมัติ Autonomic Nervous System = ANS  หมายถึง เส้นประสาทที่ทำงานได้เองโดยอยู่นอกอำนาจจิตใจ แบ่งย่อยออกเป็น  2 พวก
           2.1 ประสาทซิมพาเทติก Sympathetic  Nerve  ทำหน้าที่ขณะตื่นตกใจ กลัว โกรธ หรือเกิดการต่อสู้
           2.2 ประสาทพาราซิมพาเทติก Para Sympathetic  Nerve ทำหน้าที่ตรงข้ามกับประสาทซิมพาเทติก
      เส้นใยประสาท ที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นใยกล้ามเนื้อหนึ่งเส้นหรือหลายเส้นเรียกว่า หน่วยสั่งการ Motor  unit มีการกระตุ้นที่เส้นใยประสาท ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัว

      ปลายประสาทที่รับความรู้สึกของกล้ามเนื้อเป็นส่วนหนึ่งของประสาทรับรู้ของร่างกาย
-              ปลายประสาทที่รับสัมผัส เรียกว่า มิสสเนอร์ คอร์พัสเซิล
-                ปลายประสาทที่รับแรงกด เรียกว่า แพซิเนียน คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความหนาวเย็น เรียกว่า เคราส์ คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความร้อนหรือความอบอุ่น เรียกว่า รัฟฟินิ คอร์พัสเซิล
-              ปลายประสาทที่รับความเจ็บปวด เรียกว่า ฟรี เนิฟ เอนดิง

โปรปริโอเซปเตอร์  Proprioceptor
เป็นปลายประสาทที่ทำหน้าที่รายงานเกี่ยวกับตำแหน่ง ลักษณะของร่างกาย เช่น การก้ม การเงย นอนตะแคง
      ปลายประสาทพวกนี้ได้แก่ ส่วนของอวัยวะที่ทำหน้าที่ทรงตัวในหู รวมทั้งปลายประสาทที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เพื่อรายงานเกี่ยวกับความตึงตัว การคลายตัวของกล้ามเนื้อ ความตึงของเอ็น

การทำงานของระบบประสาท
แบ่งได้  2 ระบบ
1.        ระบบประสาทที่ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ
2.        ระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ










การควบคุมการสั่งการของระบบประสาท
      1. ซีรีบรัล คอร์เทกซ์  ควบคุมการกระตุ้นและยับยั้งในส่วนที่อยู่ต่ำกว่า
      2. ไฮโพทาลามัส
           - ควบคุมอุณภูมิของร่างกาย
           - ควบคุมระบบอัตโนมัติ
           - ควบคุมการขับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
           - ผลิตฮอร์โมนออกซิโทซิน และ ADH
           - ประสานการทำงานเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น การกิน การโกรธ
      3. สมองส่วนกลาง ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของรูม่านตาและเลนส์

      4. ก้านสมอง
           - ควบคุมระบบไหลเวียนของเลือด
           - ควบคุมการหายใจ
           - เป็นศูนย์ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของการกลืน การอาเจียน การขับน้ำลาย และน้ำย่อย









      5. ไขสันหลัง เป็นศูนย์ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันเกี่ยวกับ
           - ควบคุมการหดและการขยายตัวของหลอดเลือดที่ไปสู่ผิวหนัง
           - ควบคุมการขับเหงื่อจากต่อมเหงื่อ
           - ควบคุมกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ตรง
           - ควบคุมการแข็งตัวของลึงค์และปุ่มกระสัน
           - ควบคุมการฉีดน้ำกาม
           - ควบคุมกิริยาสนองฉับพลันของเยื่อบุช่องท้อง




การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความทนทานและความยืดหยุ่นตัว
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
      หมายถึง กำลังสูงสุดที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งปล่อยออกมาเพื่อต่อต้านแรงต้านทาน
กล้ามเนื้อมีการหดตัว  2 แบบ
1.       แบบไอโซเมตริก
2.       แบบไอโซทอนิก

1.        ความเข้มของการฝึก
2.        ระยะเวลาในการฝึกและความต่อเนื่อง
3. ลักษณะของร่างกาย
                                             

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1.        การเรียงตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ
2.        ความเมื่อยล้า
3.        อุณหภูมิ
4.        ปริมาณของสารอาหาร
5.        ระดับการฝึก
6.        การพักผ่อน







การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอันเป็นผลจากการเพิ่มความแข็งแรง
  ไฮเพอร์โทรฟี  Hypertrophy
  การขยายขนาดของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการกำหนดการฝึกน้ำหนักทำให้พื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่า           ไฮเพอร์โทรฟี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น