วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรีรวิทยาการกีฬา 6

ไฮเพอร์โทรฟี Hypertrophy
           จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.            เพิ่มจำนวนและขนาดของไมโอไฟบริล ในเส้นใยกล้ามเนื้อ
2.            เพิ่มจำนวนโปรตีนที่ใช้ในการหดตัวโดยเฉพาะไมโอซิน
3.            เพิ่มความหนาแน่นของหลอดเลือดฝอยต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ
4.            เพิ่มจำนวนและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เอ็นกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
5.            เพิ่มจำนวนของเส้นใยอันเป็นผลจากการแยกตัวของเส้นใยที่เรียงตัวตากยาว


การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและองค์ประกอบของเส้นใยกล้ามเนื้อ

1.        เพิ่มความเข้มข้นของสารประกอบทางเคมี ได้แก่ ครีเอทิน 39 % ฟอสโฟครีเอทิน 22 % เอทีพี  18 % โกลโคเจน 66 %
2.        เพิ่มหรืออาจไม่เพิ่มเอนไซม์ ในกระบวนการสลายกลูโคส
3.        เล็กน้อยหรือไม่เปลี่ยนแปลงเอนไซม์สำหรับการเปลี่ยนกลับของ เอทีพี เช่น ไมโอคิเนส ครีเอทิน ฟอสโฟคิเนส


4.        เล็กน้อยแต่สำคัญในการเพิ่มการใช้ออกซิเจน กิจกรรมเอนไซม์ในวัฎจักรเครบส์ เช่น มาเลต ดีไฮโตรจิเนส Malate dehydrogenase                ซักซินิก ดีไฮโตรจิเนส Succinic dehydrogenase
5.        ไม่มีการเปลี่ยนกลับไปมา ระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อขาวและแดง
6.        ลดปริมาณ (ความหนาแน่น) ของ ไมโทรคอนเตรีย และ ซาร์โคพลาสมิก ด้วย
7.        ไฮเพอร์โทรฟี เป็นการเพิ่มพื้นที่ของเส้นใยกล้ามเนื้อขาวและแดงให้มากขึ้น



การระบมของกล้ามเนื้อ Muscular Soreness
           แบ่งออกเป็น  2  แบบ
      1. การระบมแบบเฉียบพลัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย หรือเกิดขึ้นในทันทีทันใดภายหลังการออกกำลังกาย
           สาเหตุ
1.        การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อระหว่างหดตัว
2.        ภาวะขาดเลือด
3.        การเจ็บปวดจะมีต่อไปจนกว่าความรุนแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงหรือหยุด        หดตัว



2. การระบมที่เกิดขึ้นภายหลัง
     2.1 ทฤษฎีเนื้อเยื่อขาด เนื่องจากเนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด
     2.2 ทฤษฎีการเกร็ง มี  3  ประการ
           2.2.1 การออกกำลังกายทำให้เกิดภาวะขาดเลือดในกล้ามเนื้อที่ทำงาน
           2.2.2 ภาวะขาดเลือดจะนำสาร P ไปกระตุ้นปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
     2.3 ทฤษฎีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
           เนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมทั้งเอ็นเกิดความเสียหายระหว่างที่กล้ามเนื้อหดตัว จึงเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อระบม


ความทนทาน
      ความทนทาน หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทำงานที่มีความเข้มต่ำหรือปานกลางได้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่เหน็ดเหนี่อยง่าย ความทนทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.        ความทนทานของกล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกาย ความแข็งแรงและความทนทานมักจะแปรผันตามกัน คือหากร่างกายมีความแข็งแรง ความทนทาน       ก็จะตากมา
2.        ความทนทานของระบบไหลเวียน หายใจ
      การออกกำลังกาย นอกจากเกิดความแข็งแรงแล้วยังทำให้เกิดความทนทาน ในการฝึกความทนทานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

                                                กล้ามเนื้อหัวใจขยายใหญ่ขึ้น
                                                ปริมาณเลือดที่ฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายครั้งหนึ่ง ๆ มีมากขึ้น
                                                อัตราการเต้นของหัวใจไม่สูงในการออกกำลังกายที่มีความเข้มเท่ากัน เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับการฝึก
                                                ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ              มีประสิทธิภาพในการหดตัวสูงขึ้น อันเป็นผลให้การหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปได้มาก หรือส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาได้มาก
                                                หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และปริมาณของหลอดเลือดฝอยในกล้ามเนื้อก็มีมากขึ้น
                                                เมื่อระบบไหลเวียนดีขึ้น ทำให้การขนส่งเชื้อเพลิงประเภทไขมันอิสระเพื่อนำไปสร้างพลังงานแบบใช้ออกซิเจนดำเนินไปด้วยดี การขนส่งของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมเทบอลิซึม มีประสิทธิภาพขึ้น อันส่งผลไปสู่ความทนทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น