วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
            สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 24 - 25) กล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จ         พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1144 ตรงกับวันที่  21 เมษายน 2535 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยยังคงมีสงครามติดพันอยู่กับประเทศพม่า และการปราบกบฏในหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยนี้การจัดกระบวนทัพยังคงรูปแบบเดิม ดังเช่นการรบในครั้ง
สงครามเก้าทัพ พ.ศ.2328 แทนที่กองทัพไทย จะตั้งรับอยู่ที่เมืองหลวง ให้กองทัพไทยออกไป       ตั้งรับนอกเมืองหลวง ที่ทุ่งลาดหญ้า อยู่ต่อเชิงเขาบรรทัด พม่าที่ยกเข้ามาก็ต้องตั้งอยู่บนภูเขา      อันเป็นกันดารจะหาเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพและจะเดินกระบวนทัพก็ยาก นอกจากนี้ยังจัดกองโจรออกคอยซุ่มโจมตีกองลำเลียงเสบียงอาหาร และการทำกลลวงต่าง ๆ ให้พม่าเข้าใจผิด          คิดว่าไทยมีกองกำลังรบมาเสริมตลอดเวลา ในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์นั้นได้มีการนำอาวุธปืนและวัตถุระเบิดเข้ามาใช้ในการสงครามมากขึ้น ใน พ.ศ.2387 ตรงกับรัชกาลที่ 3 เกิดปัญหาความวุ่นวายของคนจีนในหัวเมืองต่าง ๆ จึงต้องส่งกำลังทหารไปปราบ ในสมัยนั้นทหารปืนเป็นกำลังสำคัญในการควบคุมความสงบในประเทศ จีนเผี้ยว กับจีนก้วน ตั้งอยู่ในป่าแสมริมชายทะเลใกล้กับปากน้ำบางปะกงได้ลักลอบขายฝิ่นก้อนอยู่เป็นประจำ พระยามหาเทพ จึงให้จหมื่นสมุหพิมาน (สมบุญ) ออกไปจับ ก็สู้ไม่ได้แตกหนีกลับมา เมื่อความทราบถึงรัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้า ฯ ให้  จหมื่นราชามาตย์ กับพวกทหารปืนปากน้ำออกไปจับ ได้ต่อสู้รบพุ่งกันสามารถจับตัว จีนเผี้ยว จีนก้วน กับฝิ่น จำนวน 30 ก้อน เข้ามาถวายได้
            จากเหตุการณ์ทั้งสองทำให้พอทราบถึงการพัฒนาการรบของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่าความสำคัญของมวยไทยที่เคยเป็นวิชาติดตัวทหารไทยทุกคน เพื่อใช้ช่วยในการรบแบบประชิดตัว ได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากอิทธิพลของวิทยาการสมัยใหม่ ที่ฝรั่งต่างชาติ นำเข้ามาส่งผลให้วิธีการรบแบบดั้งเดิมเริ่มปรับเปลี่ยนไป
            ส่วนการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับมวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มปรากฏหลักฐานมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีภาวะสงครามลดลง และสิ้นสุดสงครามระหว่างไทยกับพม่า เมื่อ พ.ศ.2397  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2  ซึ่งเป็นการรบที่แตกต่างจากการรบแบบเดิม    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น