วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิ่งสามขา

                วิ่งสามขา  เป็นการละเล่นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การละเล่นกีฬาพื้นบ้านไทยวิ่งสามขานี้นิยมเล่นกันมากในภาคกลางเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักร่วมแรงร่วมใจกัน
                อุปกรณ์
                ผ้าผูกขาคู่ละ  2 ผืน
                วิธีการเล่น
1.             จัดเตรียมสนามให้มีความกว้างพอสมควร
2.             ระยะทางจากเส้นเริ่มต้นถึงเส้นชัยใช้ระยะทางประมาณ  100 500 เมตร
3.             ให้ผู้เล่นแต่ละคู่ยืนเคียงข้างกัน
4.             ใช้ผ้าผูกขาให้ชิดกันผูกเชือกดึงขาซ้ายของคนที่อยู่ทางขวา และผูกเชือกดึงขาขวาของคนที่อยู่ทางซ้าย ให้แน่นไม่หลุดแยกออกจากกัน
5.             ขณะวิ่งถ้าเชือกผู้เล่นหลุดออกถือเป็นแพ้
6.             ผูกให้เป็น  2 เปลาะ ที่ใต้เข่าเปลาะหนึ่ง และเหนือตาตุ่มอีกเปลาะหนึ่ง
7.             ทั้งสองคนใช้แขนโอบคอกันไว้ให้แน่น และยืนเตรียมพร้อมอยู่หลังเส้นเริ่มต้น เป็นแถวหน้ากระดานหันหน้าไปทางเส้นเริ่มต้น
8.             เว้นระยะให้แต่ละคู่ห่างกันประมาณ  2 3 เมตร
9.             เมื่อผู้เล่นได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ให้แต่ละคู่วิ่งไปยังเส้นชัย ผู้เล่นคู่ใดวิ่งไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
10.      ระหว่างวิ่งแข่งขันผู้เล่นแต่ละคู่จะต้องไม่วิ่งกีดกันผู้เล่นคู่อื่น หรือกลั่นแกล้งคู้เล่นอื่น ผู้ฝ่าฝืนปรับเป็นแพ้
11.      ระหว่างวิ่งผู้เล่นคู่ใดล้มลงให้รีบลุกขึ้นมาวิ่งต่อไปได้
12.      ให้มีกรรมการตัดสินอย่างน้อย  2 คน



******************************************





มอญซ่อนผ้า

                        มอญซ่อนผ้า  เป็นการละเล่นพื้นบ้านของคนไทยแทบทุกจังหวัด โดยมีการเล่นมอญซ่อนผ้ากันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมเล่นกันมากในหมู่เด็ก เยาวชน ทั้งชายและหญิง ในงานเทศกาล งานประเพญีต่าง ๆ และในยามว่างหลังจากทำงาน
                        อุปกรณ์
1.             พื้นที่เล่นใช้บริเวณกว้าง เช่น ลานวัด ลานบ้าน
2.             หาผู้เล่นคนหนึ่งเป็นมอญ ทำหน้าที่ซ้อนผ้า  1 คน โดยการเสี่ยงจากผู้เล่นทั้งหมด
3.             ให้ผู้เล่นที่เหลือทั้งหมดนั่งเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหาวงกลม พร้อมทั้งร้องเพลงและตบมือ
4.             คนที่เป็นมอญถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินรอบผู้เล่นที่นั่งอยู่เป็นวงกลม
5.             ระหว่างที่คนที่เป็นมอญเดินรอบผู้เล่นที่นั่งอยู่เป็นวงกลมจะทิ้งผ้าหลังใครก็ได้แต่ต้องพยายามอย่าให้ผู้เล่นคนที่ถูกทิ้งผ้าไว้ด้านหลังรู้
6.             เมื่อคนที่เป็นมอญทิ้งผ้าหลังผู้เล่นคนที่นั่งอยู่เดินกลับมาถึงผ้าที่ถูกทิ้งไว้ก็หยิบผ้าไล่ตีนั้น ผู้เล่นที่ถูกไล่ตีต้องวิ่งหนีรอบวงกลม  1 รอบ จึงกลับมานั่งที่เดิม
7.             ผู้เป็นมอญก็ถือผ้าวางคนใหม่ต่อไป
กติกา
1.             ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม ร้องเพลงและตบมือ
2.             ผู้เป็นมอญต้องพยายามวางผ้าให้ตรงหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง
3.             เมื่อเดินครบรอบ ถึงจุดที่วางผ้า ถ้าผู้เล่นคนนั้นไม่รู้ตัว ให้ผู้เล่นเป็นมอญหยิบผ้าไล่ตีผู้เล่นคนนั้น
4.             กรณีที่ผู้เล่นรู้ตัว ให้ผู้เล่นหยิบผ้าไล่ตีผู้เล่นที่เป็นมอญ
5.             ผู้เล่นคนที่เป็นมอญที่ถูกไล่ตีต้องวิ่งรอบวงกลมมานั่งแทนผู้เล่นคนที่ไล่ตี
6.             ผู้เล่นคนที่ไล่ตีก็จะเป็นมอญคนต่อไป
7.             กรรมการให้ผู้เล่นตัดสินกันเอง

บทเพลงร้องประกอบมอญซ้อนผ้า

                            มอญซ้อนผ้า                       ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง
ไว้โนนไว้หนี้                           ฉันจะตีก้นเธอ                                                  


************************************************

ตี่จับ
                           
                            ตี่จับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของทุกจังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพ ฯ  ปทุมธานี สิงห์บุรี  อุทัยธานี  ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีการเล่นกันทุกภาค นิยมเล่นกันในหมู่เด็ก เยาวชน ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย
                            อุปกรณ์
                            ใช้สนามที่มีพื้นที่กว้างเรียบพอประมาณ
                            วิธีเล่น
1.             ตีเส้น  1 เส้น เป็นเส้นแบ่งแดน
2.             เริ่มจากการเสี่ยงว่าคนใดจะเป็นตี่จับก่อน
3.             คนที่เป็นตี่จับจะยืนตรงเส้นแบ่งแดน
4.             เมื่อเริ่มต้น คนที่เป็นตี่จับจะต้องออกเสียง ตี่ หรือ หึ่ม ตลอดเวลา
5.             คนที่เป็นตี่จับต้องพยายามแตะฝ่ายตรงข้ามคนใดคนหนึ่ง
6.             ในขณะเดี่ยวกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องพยายามจับตัวไม่ให้ผู้นั้นกลับเข้าสู่แดนได้
7.             เมื่อฝ่ายคนที่เป็นตี่ถูกจับตัวได้ ต้องตกเป็นเชลย และให้ฝ่ายตรงข้ามคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ตี่จับกลับบ้าง ทำเช่นนี้สลับกัน
8.             กรณีผู้เป็นตี่จับกลับเข้าสู่แดนของตนได้ คนที่ถูกเตะ หรือถูกตัว ฝ่ายตี่ต้องมาเป็นเชลยเช่นกัน
9.             ฝ่ายตี่ต้องพยายามช่วยฝ่ายตนที่ถูกจับเป็นเชลยให้ได้
10.      ให้สลับกัน ตี่ ข้างละ  1 คน ฝ่ายไหนผู้เล่นหมดก่อน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
กติกา
1.             กำหนดเส้นตรง  1 เส้น เป็นเส้นแบ่งแดน ยาวประมาณ  3 5 เมตร
2.             ให้ลากเส้นตรง  2 เส้น ขนานกัน โดยเส้นแบ่งแดนอยู่กึ่งกลางและขนานกับเส้นตรงทั้ง  2 เส้น ซึ่งมีระยะทางเท่า ๆ กัน (ระยะห่างซึ่งเราเรียกเส้นทั้ง  2 เส้นนี้ว่าเส้นหลัง หรือเส้นเขตเชลย มีความยาวเท่ากันกับเส้นแบ่งแดน)
3.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ผู้เป็นตี่ ก้าวข้ามเส้นแบ่งแดนพร้อมทั้งร้อง ตี่ หรือ หึ่ม ตลอดเวลา และต้องพยายามเข้าไปแตะเส้นหลังให้ได้ โดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
4.             กรณี ตี่ ไปไม่ถึงเส้นหลัง จะกลับเข้าแดนตนเองไม่ได้ นอกเสียจากผู้เป็น ตี่ แตะฝ่ายตรงข้ามได้ จึงสามารถกลับเข้าสู่แดนตนเองได้
5.             ผู้เล่นเป็น ตี่ ต้องร้อง ตี่ อย่าให้เสียงขาดหายจนกว่าจะผ่านเข้าสู่แดนตนเอง
6.             ถ้า ตี่ ไปไม่ถึงเส้นหลัง และไม่ได้แตะฝ่ายตรงข้าม หรือแตะฝ่ายตรงข้ามได้แต่เสียงขาดหาย ก่อนเข้าแดนตนเอง หรือถูกจับได้จนไม่สามารถกลับแดนตนเองได้ ถือว่าผู้นั้น ตาย  ต้องตกเป็นเชลย


25

ฝ่ายตรงข้าม โดยยืยหลังเส้นเขตเชลย รอให้เพื่อนที่เป็น ตี่ มาแตะก่อนจึงสามารถกลับแดนตนเองได้
7.             เมื่อเล่นจนฝ่ายตรงข้ามแพ้ ให้ฝ่ายชนะขี่หลังฝ่ายแพ้ จากเส้นหลังของตนไปยังเส้นแดน แล้วเริ่มเล่นใหม่
8.             ให้ผู้เล่นตัดสินกันเอง

                                                                            เขตเชลย              เส้นแบ่งแดน            เขตเชลย












                                                                เส้นหลัง                                                เส้นหลัง 




**********************************







งูกินหาง

                งูกินหาง  เป็นการละเล่นพื้นบ้านไทยมาแต่สมัยโบราณ นิยมเล่นกันในหมู่เด็ก เยาวชน แทบทุกจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ฯ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี ตาก แพร่ น่าน อุบลราชธานี หนองคาย ชัยภูมิ มหาสารคาม ลำพูน ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น นิยมเล่นกันทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ในงานเทศกาล งานประเพญีต่าง ๆ  ปัจจุบันยังพบเห็นเล่นกันอยู่ตามชนบทห่างไกล เป็การละเล่นที่มีบทเพลงขับร้องประกอบการเล่น
                วิธีเล่น
1.             ใช้พื้นที่เล่นที่มีบริเวณกว้าง
2.             ไม่จำกัดผู้เล่น
3.             ให้เสี่ยงหาผู้เป็น พ่องู  1 คน
4.             ให้ พ่องู ยืนหันหน้าเข้าหา แม่งู  ผู้เล่นที่เหลือเป็นลูกงู และให้จับเอวกันไว้
5.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม พ่องูจะถามแม่งูว่า

พ่องู                                แม่งูเอ๋ย
แม่งูและลูกงู                เอ๋ย
พ่องู                                กินน้ำบ่อไหน
แม่งู                                กินน้ำบ่อโศก
ลูกงู                                โยกไปก็โยกมา    (แม่งูและลูกงูจะโยกตัวไปมา)
พ่องู                                แม่งูเอ๋ย
แม่งูและลูกงู                เอ๋ย
พ่องู                                กินน้ำบ่อไหน
แม่งู                                กินน้ำบ่อทราย
ลูกงู                                ย้ายไปก็ย้ายมา
                                                                                                            


***************************************************





ขาโถกเถก

                ขาโถกเถก  เป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นิยมเล่นกันมากในจังหวัด สกลนคร
ศรีสะเกษ  บุรีรัมย์  และนครราชสีมา  บางท้องถิ่นเรียกว่า เดินโถกเถก   คำว่า โถกเถก  หมายถึง ไม้ที่ต่อขาสำหรับเดิน
                กีฬาขาโถกเถก สันนิษฐานได้ว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านที่มีการเล่นกันมานานแล้ว โดยการเลียนแบบการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนภาคอีสาน ในสมัยโบราณคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ ไว้ใต้ถุนบ้าน ปะปนอยู่บนดินพอฝนตกก็เฉอะแฉะเป็นที่น่ารังเกียจ ประกอบกับบางครั้งจะมีสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมลงป่อง หรืองูพิษ ตามพื้นดิน คนไทยในสมัยโบราณจึงใช้ไม้ต่อขาสูง เพื่อใช้เดินผ่านไป ต่อมาจึงนำมาเล่นเป็นการละเล่นพื้นบ้านสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มักนิยมเล่นกันในหมู่เด็ก ผู้ใหญ่ ในงานเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ นิยมเล่นกันในเวลากลางคืนในฤดูหนาว
                อุปกรณ์
                ไม้ยาวมีกิ่งหรือขั้นสำหรับยืนได้
                วิธีเล่น
1.             สถานที่เล่นมีความยาว  10 เมตร
2.             การเล่นเป็นประเภทผลัด ทีมละ  9 คน
3.             ตีเส้นเริ่มต้น และเส้นชัย
4.             ให้ผู้เล่นแต่ละทีมยืนที่เส้นเริ่ม  5 คน ที่เส้นชัย  4 คน
5.             เมื่อสัญญาณเริ่ม คนแรกของทุกทีมขึ้นยืนบนง่ามไม้ด้วยเท้าทั้งสองข้าง มือจับไม้โถกเถก และทรงตัวให้ได้ พยายามเดินไปที่เส้นชัย แล้วเปลี่ยนให้คนที่ 2 ในทีมเดินต่อ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ  9 คน
กติกา
1.             ให้ผู้เล่นแต่ละคนขึ้นยืนบนไม้โถกเถกโดยไม่ตก
2.             ทีมใดเดินเข้าเส้นชัย โดยไม่ผิดกติกา และใช้เวลาน้อยที่สุด เป็นผู้ชนะ

*******************************************






พรมวิเศษ

                        พรมวิเศษ  เป็นการละเล่นของเด็ก ในสมัยโบราณ นิยมเล่นกันในภาคกลาง เช่น ปทุมธานี สิงห์บุรี  ลพบุรี  พระนครศรีอยุธยา  การเล่นเริ่มจากการนั่งบนทางมะพร้าว แล้วให้เพื่อลาก ถ้ามีคนนั่งมากลากไม่ไหวก็จะเปลี่ยนเป็นการยืนเกาะ เพื่อนชักทางมะพร้าวกระโดดไปพร้อมกัน
                        อุปกรณ์
                        กระสอบป่านเย็บติดกัน   3 ผืน
                        วิธีเล่น
1.             จัดสถานที่ให้มีความยาว  10 เมตร
2.             ผู้เล่นทีมละ  9 คน
3.             ให้ผู้เล่น ยืนบนพรม  7 คน
4.             ผู้เล่นอีก  2 คน จับปลายกระสอบทั้งสองข้าง
5.             เมื่อเริ่มสัญญาณ ให้ผู้เล่นดึงกระสอบให้เคลื่อนที่ ผู้เล่นที่ยืนบนกระสอบต้องกระโดดไปพร้อมกับการดึงกระสอบ
กติกา
1.             ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องเข้าถึงเส้นชัยโดยไม่ตกจากกระสอบ
2.             ให้กรรมการตัดสินบันทึกเวลาหลังจากพรมเข้าถึงเส้นชัยทั้งหมด
3.             ทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ




********************************************









วิ่งผลัดตะข้อง

                        วิ่งผลัดตะข้อง   เป็นกีฬาที่เล่นประเภทเดี่ยว มีการเล่นกันมานาน เป็นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งชาย และหญิง เล่นกันในงานเทศกาล งานประเพณี ต่าง ๆ และในเวลาว่างหลังจากทำงานมาทั้งวัน
                        อุปกรณ์
1.             ตะข้องใส่ปลามีสายสะพายเท่าจำนวนผู้เล่น
2.             เก้าอี้นั่งทีมละ  2 ตัว
3.             สนามกว้างพอสมควรมีความยาวประมาณ  25 30 เมตร
วิธีเล่น
1.    ตีเส้นหนึ่งเส้นเป็นเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย
2.    จัดเก้าอี้ให้ห่างจากเส้นเริ่มต้นประมาณ  25 -  30 เมตร
3.             ระยะห่างระหว่างทีมประมาณ  1 2 เมตร
4.             ให้ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนลึกหลังเก้าอี้ตัวที่ 1 ที่เส้นเริ่มต้นและเส้นชัย
5.             นำตะข้องวางไว้บนเก้าอี้ตัวที่หนึ่ง
6.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มให้ผู้เล่นคนแรกสวมสะพายตะข้อง ตามถนัด แล้ววิ่งไปอ้อมเก้าอี้ตัวที่สองแล้ววิ่งกลับมาที่จุดเริ่มต้นให้เร็วที่สุด
7.             เมื่อผู้เล่นคนแรกวิ่งออกไป ให้ผู้เล่นคนต่อไปมานั่งรอที่เก้าอี้ตัวที่หนึ่งห้ามลุกจนกว่าผู้เล่นคนแรกจะวิ่งนำตะข้องมาสวมสะพายให้จึงจะลุกขึ้นวิ่งไปได้
8.             ให้ผู้เล่นคนต่อ ๆ ไปทำเช่นเดียวกับผู้เล่นคนที่หนึ่งและที่สองจนครบทุกคน
กติกา
1.             ขณะที่วิ่งผู้เล่นจะต้องสวมตะข้องอยู่ตลอดเวลา
2.             ผู้เล่นจะต้องวิ่งไปอ้อมเก้าอี้ตัวที่สองแล้วนำตะข้องมาสะพายให้ผู้เล่นคนที่สองและคนต่อไปที่นั่งรออยู่ที่เก้าอี้ตัวที่หนึ่ง
3.             ผู้เล่นคนสุดท้ายของทีมใดกลับมานั่งบนเก้าอี้ตัวที่หนึ่งก่อนเป็นผู้ชนะ


**************************************





วิ่งม้าชาวเสียม

                        วิ่งม้าชาวเสียม  การละเล่นชนิดนี้เป็นการละเล่นของชาวภาคเหนือพบว่ามีการเล่นกันตั้งแต่ พ.ศ.2485นิยมเล่นกันมากในจังหวัดแพร่ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง โดยดัดแปลงมาจากการนั่งรถม้าของชาวสยามมีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับการแข่งขันม้าสมมุติ โดยให้ผู้เล่นคนหนึ่งเป็นม้า ผู้เล่นอีกคนหนึ่งเป็นผู้ขี่แล้ววิ่งแข่งขันกัน
                        วิธีการเล่น
1.             กำหนดสถานที่เล่นให้กว้างพอ
2.             ตีเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย
3.             ให้ผู้เล่นแต่ละคนยืนอยู่หลังเส้นเริ่มต้น โดยกำหนดให้ผู้เล่น 2 คน เป็นม้า ผู้เล่นอีกคนเป็นคนขี่
4.             ให้คนสองคนที่เป็นม้ายืนเคียงข้างกัน หันหน้าไปทางเส้นชัย โดยให้ผู้เล่นสองคนที่เป็นม้าประสานมือทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง
5.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้คนที่เป็นคนขี่ม้ากระโดดเอาเท้าทั้งสองข้างเหยียบในช่วงมือของคนสองคนที่เป็นม้า โดยใช้เท้าเหยียบคนละข้าง แล้วให้ม้าวิ่งไปที่เส้นชัยโดยเร็ว
6.             กลุ่มใดวิ่งเข้าเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ แต่คนขี่ต้องไม่ตกระหว่างทาง




***************************************













อุ้มขุนนางข้ามฟาก

                        อุ้มขุนนางข้ามฟากเป็นการเล่นของเด็กไทยที่มีมานานเช่นเดียวกัน  เป็นการเล่นที่มีการอุ้มโดยทีมละ                    3 คน
                        วิธีเล่น
                1. กำหนดสถานที่เล่นให้เส้นชัยและเส้นเริ่มห่างกัน 10 เมตร
                2. ผู้เล่นทีมละ 9 คน แบ่งออกเป็น 3 ชุดๆละ 3 คน
                        กติกา
                1. ให้ผู้เล่นชุดที่ 1 และ 3 ให้ยืนอยู่ที่เส้นเริ่ม  ส่วนชุดที่ 2  ให้ยืนอยู่ที่เส้นชัยลักษณะการยืนให้คนที่เป็นคนอุ้มหันหน้าเข้าหากันพร้อมประสานมือให้มั่นพร้อมที่จะให้คนนั่ง
                2. เมื่อกรรมการให้สัญญาณ  ผู้เล่นชุดที่ 1 ที่เป็นคนนั่งจะขึ้นนั่งและใช้มือโอบคอคนที่เป็นคนอุ้มไว้ทั้งสองข้าง  จากนั้นให้วิ่งไปที่เส้นชัยแล้วเปลี่ยนให้คนใดคนหนึ่งที่เป็นคนอุ้มขึ้นมาเป็นคนนั่งและวิ่งไปที่เส้นเริ่ม  จากนั้นให้คนที่เหลือที่ยังไม่ได้เป็นคนนั่งขึ้นมาเป็นคนนั่งและวิ่งไปที่เส้นชัยเพื่อเปลี่ยนเป็นชุดที่ 2
                3. ทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
                4. กรรมการเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันและตัดสินผลการแข่งขัน




******************************************












วิ่งชิงธง  (วิ่งวัวคน)

                        วิ่งชิงธงหรือวิ่งชิ่งวัวคนเป็นการเล่นที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของไทย   นิยมเล่นกันในจังหวัดต่างๆของภาคกลาง  การวิ่งลักษณะนี้เป็นการวิ่งเร็วนั่นเองสันนิษฐานว่าเลียนแบบมาจากการแข่งขันวิ่งวัวหรือวิ่งควายที่ใช้วัวหรือควายวิ่งแข่งกันจริงๆ  การเล่นนี้มีมาแต่โบราณโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันในสมัยกรุงสุโขทัย เรียกว่า คนแล่น  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า วิ่งวัว วิ่งควาย วิ่งวัวควาย และโคคน เป็นต้น ชาวบ้านในสมัยก่อนนิยมเล่นวิ่งวัวคนเพื่อเป็นการประลองความเร็ว เพื่อการออกกำลังกายตลอดจนเล่นเพื่อความสนุกสนาน  และมักเล่นหลังฤดูเก็บเกี่ยวโดยใช้ทางเกวียนเป็นที่วิ่งมีการขึงเชือกกลางทางเกวียนเพื่อวิ่งชิงธงกัน  ต่อมามีการพัฒนาเล่นเป็นทีมโดยจับมือกันออกวิ่งแล้วชิงธงและจากหลักฐานพบว่ามีการเล่นวิ่งวัวคนในงานนักขัตฤกษ์ต่างๆ งานเทศกาล งานประจำปี
ปัจจุบันกีฬาวิ่งวัวคนตามรูปแบบการเล่นในสมัยก่อนยังมีปรากฏอยู่บ้างในท้องถิ่นชนบท
                        อุปกรณ์
                1. ธงพร้อมเสาหลักสำหรับเสียบธง
                2. เสาหลักสำหรับพันเชือกผูกเอว
                3. มีดหรือขวาน
                4. ราวเชือกผูกธงสี
                วิธีเล่น
                1. จัดสถานที่เล่นที่เป็นพื้นกว้าง  ความยาว 20 เมตร (พิจารณาจากสภาพพื้นที่เป็นสำคัญ)  ที่เส้นเริ่มปักเสาหนึ่งต้นและวัดจากเส้นเริ่มไปตามความยาวที่กำหนดปักหลักสำหรับเสียบธง
                2. ผู้เล่นมี 2 คน ให้ผู้เล่นทั้งสองคนผูกเอวด้วยเชือกแล้วนำไปคล้องไว้กับเสาที่เส้นเริ่ม  ผู้เล่น                        ยืนเตรียมพร้อมที่จะออกวิ่ง  กรรมการดูให้ผู้เล่นอยู่ในเส้นเริ่มระดับเดียวกัน  ถ้าเล่นเป็นทีมให้มีผู้เล่นทีมละ 9 คน           ผู้เล่นจะจับมือออกวิ่งพร้อมกันเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเริ่ม
                3. กรรมการให้สัญญาณปล่อยตัวผู้วิ่งและตัดเชือกที่ผูกเสาออก  ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องวิ่งอย่างเร็วที่สุดไปที่เสาเส้นชัยที่ปักธงไว้และคว้าธงออกจากเสา  ถ้าเป็นทีม ทีมที่วิ่งดึงธงออกจากเสาได้ก่อนเป็นผู้ชนะ กรณีจับธงพร้อมกันทีมที่จับธงสูงกว่าเป็นผู้ชนะโดยยึดด้านธงเป็นหลัก
                กติกา
                1. ผู้เล่นแต่ละคน (แต่ละทีม)  ต้องไม่วิ่งเบียด  วิ่งตัดหน้า  หรือแกล้งผู้เล่นอื่นและขณะวิ่งต้องไม่วิ่งล้ำออกนอกช่องวิ่ง
                2. ผู้เล่นจับมือออกวิ่งพร้อมกันและมือต้องไม่หลุดออกจากกัน
                3. ผู้วิ่งหรือทีมที่ดึงธงออกจากเสาก่อนเป็นผู้ชนะ
                4. มีกรรมการอย่างน้อย 2 คน ทำหน้าที่ปล่อยตัวและควบคุมการแข่งขันและตัดสินผลการแข่งขัน

*******************************************
วิ่งกระสอบ

                        วิ่งกระสอบ  เป็นการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง เป็นการละเล่นที่เสริมสร้างความสนุกสนาน รื่นเริง นิยมเล่นกันในหมู่เด็กและผู้ใหญ่
                        อุปกรณ์
                        กระสอบเท่าจำนวนผู้เล่น
                        วิธีเล่น
1.             ใช้สนามกว้างพอประมาณ
2.             ตีเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย ระยะประมาณ  40 50 เมตร
3.             ผู้เล่นแต่ละคนใช้เท้าทั้งสองข้างสวมลงในกระสอบ มือทั้งสองข้างจับปากกระสอบ
4.             ผู้เล่นยืนหลังเส้นเริ่มต้น
5.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้ผู้เล่นทุกคนวิ่งไปสู่เส้นชัย (ุ้ที่ถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
กติกา
1. ขณะวิ่งผู้เล่นจะต้องสวมกระสอบอยู่ตลอดเวลา
2. ให้วิ่งอยู่ในกระสอบ ห้ามกระโดด ใช้วิธีการซอยเท้าเร็ว ๆ
3. ถ้ากระสอบหลุดจากมือ ให้หยุดดึงกระสอบขึ้น แต่ห้ามเท้าหลุดจากกระสอบ
4. กรรมการตัดสินอย่างน้อย  2 คน



*******************************************










วิ่งตีวงล้อหรือขอบกระด้ง

        ประเภทเดี่ยว  หรือประเภททีม   5  คน
        สนาม  ระยะทางประมาณ  25 30 เมตร
        อุปกรณ์
1.             เก้าอี้  1 ตัว ต่อทีม
2.             วงล้อ
3.             ขอบกระด้ง  ตามจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น
1.             จัดเก้าอี้ห่างจากเส้นเริ่มประมาณ  25 30 เมตร และระยะห่างระยะทีมประมาณ  1 2 เมตร
2.             ให้ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนลึกหลังเส้นเริ่มต้น (ซึ่งจะใช้เป็นเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย)
3.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นคนแรกหยิบวงล้อหรือขอบกระด้งแล้วใช้มือตีขอบวงล้อหรือกระด้งให้หมุนไปข้างหน้า ไปอ้อมเก้าอี้ แล้วกลับมาส่งต่อให้ผู้เล่นคนต่อไปที่เส้นเริ่มต้นให้เร็วที่สุด
4.             ให้ผู้เล่นคนต่อไปทำตามจนครบทุกคน
กติกา
1.             ขณะวิ่งให้ผู้เล่นใช้มือตีวงล้อหรือขอบกระด้ง ห้ามถือวิ่งไปส่งให้ผู้เล่นคนต่อไป
2.             ผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้มือตีวงล้อหรือขอบกระด้งไปอ้อมเก้าอี้ แล้วตีกลับไปที่เส้นเริ่มต้นให้เร็วที่สุด
3.             ผู้เล่นคนสุดท้ายของทีมใดถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
4.             การเล่นประเภทเดี่ยว คนใดมาถึงเส้นชัยก่อเป็นผู้ชนะ


*********************************************







ลูกช่วง

                        ลูกช่วง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมเล่นกันมากในหมู่เด็ก และผู้ใหญ่ เล่นได้ทั้งชาย หญิง เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งทั้งยังฝึกไหวพริบ ช่วยเสริมสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลินให้แก่ผู้เล่น นิยมเล่นกันในงานเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์
                        อุปกรณ์
                        ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่ ๆ หรือผ้าอื่นก็ได้ ห่อเศษหญ้าแห้งแล้วมัดเป็นวงกลมผูกชายผ้าไว้ยาวพอที่จะ
จับโยนได้
                        วิธีเล่น
1.             แบ่งผู้เล่นเป็น  2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน ยืนห่างกันพอสมควร
2.             ตีเส้นแบ่งเขตว่าเป็นของฝ่ายใด
3.             ทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะได้เป็นฝ่ายโยนก่อน
4.             เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มต้น ให้ฝ่ายโยนก่อนโยนลูกไปที่ฝ่ายตรงข้าม
5.             ฝ่ายตรงข้ามถ้ารับได้ก็มีใช้ลุกโยนปาใส่ฝ่ายโยนลูกให้ถูกตัวคนใดคนหนึ่งของฝ่ายโยน
6.             ถ้าปาไม่ถูกจะไม่ได้คะแนน และต้องให้ฝ่ายโยน โยนลูกใหม่
7.             ถ้าปาถูกจะได้คะแนน และอาจให้ผู้ที่ถูกปาออกมารำ




**********************************************











หนังสืออ้างอิง

กรมพลศึกษา : ปทานุกรมกีฬาพื้นเมือง. สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ . 2525
การกีฬาแห่งประเทศไทย : กติกากีฬาไทย. 2546
คู่มือกีฬาไทย ชุด ดูกีฬาเป็น เล่นกีฬาให้สนุก  :  กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. บริษัทพลอยแอนด์
                     จำกัด. 2547
นาวาเอกบุญส่งแสง  มาลามาศ กรรมการสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานฝ่ายกีฬาหมากรุก
                      หมากฮอส สกา
รศ.ฟอง  เกิดแก้ว : กระบี่กระบอง ฉบับสมบูรณ์. บ.สยามสปอร์ต ซินติเคท จก. 2545
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ : ศิลปะมวยไทย. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
                     นายสมมาตร์  มีศิลป์. ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา. 2540

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น